การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านหญ้าคา ตำบลหนองแจ้งใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, เศรษฐกิจพอเพียง, ชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านหญ้าคา ตำบลหนองแจ้งใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านหญ้าคา ตำบลหนองแจ้งใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแวดล้อม และเพื่อทราบปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนหญ้าคา ตำบลหนองแจ้งใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประชากรคือหัวหน้าครอบครัวหรือผู้แทนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านหญ้าคา จำนวน 250 ครัวเรือน ใช้วิธีการกำหนดตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่ม ตัวอย่างจำนวน 152 ตัวอย่าง และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และจากแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านหญ้าคา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดยด้านที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สำหรับการเปรียบเทียบ ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านหญ้าคา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสภาพแวดล้อม พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มี เพศ อายุ และอาชีพ ต่างกัน มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมไม่ต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ปัญหา อุปสรรค และ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านหญ้าคา พบว่า อุปสรรค หรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร่วมกับชุมชนในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ให้ประชาชนร่วมรับรู้ รับทราบ ร่วมวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ร่วมกันเป็นอย่างดี อนึ่ง ชุมชนมีรวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เป็นเครือข่ายประชาชน เครือข่ายกลุ่มกิจกรรมในชุมชนทำให้สะดวกต่อการติดต่อสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนผู้บริหารชุมชน ผู้นำชุมชน พัฒนากร องค์การบริหารส่วนตำบล มีบทบาทเป็นผู้ให้การส่งเสริม สนับสนุนในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนวิทยากรให้ความรู้ การสนับสนุนงบประมาณ การสนับสนุนผลผลิตหรือผลงานที่เกิดขึ้น อีกทั้งมีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน โดยการรวมกลุ่มกิจกรรมเป็นเครือข่ายชุมชนและการมีส่วนร่วมที่ดีของประชาชน ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ คือ ด้านการพัฒนาคน ด้านการพัฒนาพื้นที่ ด้านการพัฒนาแหล่งรายได้ และด้านการพัฒนาแผนชุมชน