การปกครองตามหลักพุทธธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
การปกครอง, หลักพุทธธรรมาภิบาล, พระสังฆาธิการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการปกครองตามหลักพุทธธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี (2) เปรียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการปกครองตามหลักพุทธธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางในการปกครองตามหลักพุทธธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระสงฆ์ในเขตอำเภอแหลมสิงห์ จำนวน 125 รูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า
การปกครองตามหลักพุทธธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี พบว่า พระสงฆ์มีความคิดเห็น โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน อันดับแรกคือ ด้านภิกษุใดเป็นผู้ใหญ่ เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆ
ปรินายก เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรฟัง รองลงมาคือ ด้านการไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ อันดับสุดท้ายคือ ด้านความยินดีในเสนาสนะป่า
ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการปกครองตามหลักพุทธธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ที่มีอายุพรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรม และวุฒิการศึกษาเปรียญธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองตามหลักพุทธธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปกครองตามหลักพุทธธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี พบว่า (1) ด้านการหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พระสังฆาธิการมีการจัดประชุมกันน้อยเกินไป ไม่มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ควรมีการจัดการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง (2) ด้านหลักความพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องพึงทำ พระสังฆาธิควรมีการกำหนดวันเวลาที่แน่นอนในการประชุม โดยจัดทำเป็นปฏิทินการประชุมพระสังฆาธิการประจำปี (3) ด้านการไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ พระสังฆาธิการควรมีการเข้มงวดกวดขันให้พระสงฆ์มีการประพฤติปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย (4) ด้านหลักภิกษุใดเป็นผู้ใหญ่ เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายกต้องเคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรฟัง (5) ด้านการไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้น ควรมีการประเมินผลการบริหารงานของพระสังฆาธิการและควรมีการประเมินอย่างเป็นกลาง (6) ด้านความยินดีในเสนาสนะป่า ภายในวัดควรมีการส่งเสริมให้ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมหรือทดแทนของเดิมที่ถูกตัดไป และควรมีการวางกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการอยู่ปริวาสหรือการออกธุดงค์ของพระสงฆ์ (7) ด้านการตั้งสติระลึกไว้ในใจว่า เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีศีลงาม ที่ยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่ผาสุก ควรให้เจ้าอาวาสตรวจหนังสือสุทธิหรือหนังสือรับรองทุกครั้งก่อนที่จะตัดสินใจรับและควรมีการแจ้งกฎระเบียบของวัดให้ทราบก่อนทุกครั้ง