รูปแบบการจัดการความรู้ครอบครัวต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในเขตอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • Thatchapon Teedee

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ครอบครัวต้นแบบ, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ครอบครัวต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้ครอบครัวต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรเป้าหมาย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 4 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

         ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการความรู้ครอบครัวต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ (1) การกำหนดความรู้ ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ภายใต้เงื่อนไข ความรู้คู่คุณธรรม  (2) การแสวงหาความรู้ มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย อาทิเช่น การเรียนรู้จากสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น โทรทัศน์, เฟสบุ๊ค (Facebook) เป็นต้น (3) การสร้างความรู้โดยไม่เป็นทางการ       (4) การจัดเก็บความรู้ในตัวบุคคล และ(5) การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ มีรูปแบบการถ่ายทอดอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งนี้กระบวนการจัดการความรู้เป็นวงจรที่ต่อเนื่องกัน  2) ปัจจัยเงื่อนไขที่ทำให้การจัดการความรู้ต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประสบความสำเร็จตามกรอบแนวคิดเดิมมี 5 เงื่อนไข ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ โครงสร้างองค์กร วัฒนธรรมองค์กร ภาวะผู้นำแลระบบสารสนเทศ ซึ่งจากการศึกษาเงื่อนไขที่มีผลต่อการจัดการความรู้ที่เหมาะสมนั้น มี 4 ปัจจัยเงื่อนไขหลักที่สำคัญ คือ โครงสร้างองค์กร วัฒนธรรมองค์กร ภาวะผู้นำ และระบบสารสนเทศ สำหรับเงื่อนไขด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ ครอบครัวต้นแบบยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)