ชุมชนคนอีสานกับปัญหาความเหลื่อมลํ้าทางสังคมในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
บทความนี้เป็ นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่ องความเหลื่อมล้ำทางสังคมในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาในพื้นที่ชุมชนแออัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยใช้กรอบแนวคิดในเรื่องความเสมอภาคและโอกาส กลุ่มเป้าหมายได้การคัดเลือกตัวแทนชุมชนจำนวน 85 คน ที่มีความหลากหลายทั้งในด้านเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และบทบาทหน้าที่ในชุมชน เช่น เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกต
ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนอพยพมาจากภาคอีสานประมาณร้อยละ 80 ในชุมชนยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในด้านที่อยู่อาศัย ด้านเด็กและเยาวชน และการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมโดยอำนาจรัฐ โดยมีข้อเสนอแนะคือ คนในชุมชนเองต้องใช้ความสามารถในการพึงพาตนเองโดยไม่หวังรอคอยความช่วยเหลือจากภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่แต่เพียงอย่างเดียว เจ้าหน้าที่รัฐต้องให้ความเสมอภาคและโอกาสในการเข้าถึงบริการจากภาครัฐอย่างเสมอภาค เช่น การเข้ารับบริการด้านสุขภาพและการศึกษาของเยาวชน ให้โอกาสกับผู้อยู่อาศัยที่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาในชุมชน
Article Details
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.