การปรับตัวของแรงงานข้ามชาติเวียดนาม ในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
Abstract
การปรับตัวของแรงงานข้ามชาติเวียดนามในจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย และแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างประเทศละ 50 คน พบว่า แรงงานเวียดนามทั้งในไทยและลาวมีพาสปอร์ตเข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมายในฐานะนักท่องเที่ยว ทุกคนเข้ามาทำงานเนื่องจากมีญาติหรือเพื่อนเป็นโครงข่ายทางสังคม ให้ความช่วยเหลือในเรื่องการย้ายถิ่น และให้ข่าวสารการทำงานในลาว มีแรงงานส่วนน้อยที่มีบัตรอนุญาตทำงาน แรงงานเวียดนามในไทยที่สัมภาษณ์มีสถานภาพการทำงานที่ผิดกฎหมายทั้งหมด ดังนั้น การปรับตัวของแรงงานเวียดนามในไทย จึงต้องอาศัยแรงงานเวียดนามที่อยู่มาก่อนและนายจ้างคนไทยเชื้อสายเวียดนาม ช่วยเหลือในการปรับตัวค่อนข้างมากกว่าแรงงานในลาว
อัตลักษณ์ของความเป็นเวียดนามถูกแรงงานเวียดนามในสะหวันนะเขตนำมาใช้เพื่อช่วยในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ในลาวนั้น ความเป็ นเวียดนามสามารถแสดงออกได้อย่างเสรี ทั้งการพูดภาษาเวียดนามในที่สาธารณะ การแต่งกาย อาหาร และรูปแบบของการอยู่ร่วมกัน ซึ่งตรงข้ามกับแรงงานเวียดนามในอุบลราชธานีที่ต้องซ่อนหรือเปลี่ยนอัตลักษณ์ความเป็นเวียดนาม ไม่พูดภาษาเวียดนามในที่สาธารณะ และเปลี่ยนเครื่องแต่งกายให้กลมกลืนกับคนไทย เพื่อไม่ให้ดึงดูดความสนใจของตำรวจ แรงงานเวียดนามในลาวให้ความสำคัญในการเรียนภาษาลาวค่อนข้างน้อย ตรงข้ามกับแรงงานในไทยที่พยายามเรียนรู้ภาษาไทยให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
Article Details
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.