สถานะการโต้แย้งเรื่องพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
พหุวัฒนธรรมนิยมในฐานะจุดยืนทางศีลธรรมและการเมือง และในฐานะนโยบายของรัฐ พัฒนาขึ้นในบริบทของประเทศตะวันตกเป็นหลัก จากจุดเริ่มต้นในทศวรรษที่ 1970ในฐานะนโยบายอย่างเป็นทางการของรัฐในประเทศแคนาดาและออสเตรเลียและแนวทางของรัฐในการปฏิบัติต่อความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในประเทศยุโรปบางประเทศและสหรัฐอเมริกา ที่ผ่านมามีข้อวิพากษ์ต่อพหุวัฒนธรรมนิยมอย่างกว้างขวาง รวมทั้งข้อวิพากษ์จากนักสตรีนิยม ในสองถึงสามทศวรรษที่ผ่านมา พหุวัฒนธรรมนิยมได้กลายเป็นวาทกรรมระดับโลก และได้รับการรับรองจากองค์กรระหว่างประเทศที่เรียกร้องให้รัฐต่างๆ ให้การสนับสนุนความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมภายในรัฐ เมื่อแนวคิดนี้กระจายไปในที่ต่างๆ ความหมายของพหุวัฒนธรรมนิยมเริ่มไม่ชัดเจนและขึ้นอยู่กับบริบทในบทความนี้ ผู้เขียนสำรวจสถานะข้อโต้แย้งเรื่องพหุวัฒนธรรมนิยมในประเทศไทย ในขณะที่แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิทางวัฒนธรรมและสิทธิของคนกลุ่มน้อยในประเทศอยู่ในช่วงก่อตัวคำภาษาไทย “พหุวัฒนธรรม” ที่หมายถึงพหุวัฒนธรรมนิยม (multiculturalism) และความหลากหลายทางวัฒนธรรม (cultural diversity) ถูกใช้โดยนักวิชาการและภาคประชาสังคม ในการท้าทายวาทกรรมหลักเกี่ยวกับความเป็ นหนึ่งเดียวทางวัฒนธรรม การครอบงำทางวัฒนธรรม ตลอดจนการรวมศูนย์อำนาจการบริหารของกรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้ หน่วยงานของรัฐและผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบายเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความหลากหลาย ความสนใจใหม่ๆ ต่อความหลากหลายในประเทศไทยได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดและการปฏิบัติสากลว่าด้วยสิทธิพลเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็ปรากฏอิทธิพลของความสัมพันธ์ทางสังคมแบบลำดับชั้นซึ่งมีมาตั้งแต่ก่อนการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่
Article Details
Section
Research Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.