อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยมีสมรรถนะเป็นตัวแปรคั่นกลาง
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282523คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ , สมรรถนะครู , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานหรือดำเนินกิจกรรมในวิชาชีพครูได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สมรรถนะครู และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สมรรถนะครู และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ 3) ศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยมีสมรรถนะครูเป็นตัวแปรคั่นกลาง
ระเบียบวิธีการวิจัย: ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูวิทยาศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ จำนวน 210 คน ได้มาโดยสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จากนั้นนำไปสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับซึ่งมีดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .06 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .85 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ เท่ากับ .87 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสมรรถนะครู เท่ากับ .89 และ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เท่ากับ .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์เส้นทาง
ผลการวิจัย: 1) ระดับของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สมรรถนะครู และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สมรรถนะครู และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาแต่ละตัว พบว่า ความสัมพันธ์ของตัวแปรมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัวแปร 3) อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยมีสมรรถนะครูเป็นตัวแปรคั่นกลาง โดยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ได้รับอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมจากตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งหมด 2 ตัวแปร ได้แก่ ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และ สมรรถนะครู โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
สรุปผล: จากการศึกษาพบว่าภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และสมรรถนะครู มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยสมรรถนะครูอธิบายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ได้ถึงร้อยละ 77.40 ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ส่งผลโดยตรงและมีนัยสำคัญต่อสมรรถนะครู ทำให้สมรรถนะครูเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ อาจเป็นเพราะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สามารถส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยเฉพาะผ่านการพัฒนาสมรรถนะของครู
References
กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2551). ภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 31(4), 9–18.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิตติกาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฏฐกิตติ์ บุญเก่ง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ณิชกุล ชุ่มแก้ว. (2565). การพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนเคียนซาพิทยาคม อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ธิติสุดา แก้วหาญ และทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย.วารสารการการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่. 6(4), 164-175.
นคร ชูสอนสาย. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ในยุคชีวิตวิถีใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นงค์นุช จันทร์สัย. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลแม่นาวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยพะเยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปาริชาติ ปานศรี, นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ และ ดวงเดือน สุวรรณจินดา. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพระประโทณเจดีย์ จังหวัดนครปฐม. Sisaket Rajabhat University Journal. 16 (3), 1-14.
พิษณุ พิพรรธคุณ และอำนวย มีราคา. (2566). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(3), 247-258.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลัลน์พัฒน์ ไมตรีแพน. (2564). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วัชรพงค์ โนทะนะ. (2565). การพัฒนารูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ผ่านชิ้นงานร่วมกับ แนวคิดการเสริมต่อความรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วีระเทพ พัดพรม. (2566). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุ ศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018 : บทสรุป สำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.
สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.
Robinson, V. (2007). The Impact of Leadership on Student Outcomes: Making Sense of the Evidence. Retrieved from: http://research.acer.edu.au/research_conference_2007/5/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ