ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการสถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282340คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผล, คุณภาพการให้บริการ, สถานพยาบาล, เรือนจำจังหวัดมหาสารคามบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: สถานพยาบาลในเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสถานพยาบาลในเรือนจำเป็นที่พึ่งพาสำหรับผู้ต้องขัง การให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ต้องขัง การวิจัยครั้นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพการให้บริการสถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพ การให้บริการสถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม และ (3) ข้อเสนอแนะการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม
ระเบียบวิธีการวิจัย: ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับบริการจากสถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 337 ตัวอย่าง กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ จากนั้นทำการแบ่งชั้นภูมิกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การแบ่งชั้นภูมิ แบบเป็นสัดส่วน และได้มาโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณเชิงเส้นตรง
ผลการวิจัย: 1) ระดับคุณภาพการให้บริการสถานพยาบาลเรือนจำโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการสถานพยาบาลเรือนจำ ทั้ง 6 ปัจจัย มีความสัมพันธ์พหุคูณกับการคุณภาพการให้บริการสถานพยาบาลเรือนจำ โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก และมีผลต่อคุณภาพการให้บริการสถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 6 ปัจจัย เรียงลำดับปัจจัยที่มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์จากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ปัจจัยบุคลากร, ปัจจัยการมีความร่วมมือกับองค์การอื่น, ปัจจัยการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ, ปัจจัยทรัพยากร, ปัจจัยเทคโนโลยี และปัจจัยการปฏิบัติงาน โดยปัจจัยทั้ง 6 ตัวแปร สามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพ การให้บริการสถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม ได้อย่างถูกต้องร้อยละ 80 3) ข้อเสนอแนะการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ ควรมีห้องน้ำสำหรับ ผู้ต้องขังในพื้นที่สถานพยาบาล ควรให้ผู้ปฏิบัติงานพูดคุยด้วยภาษาที่สุภาพและเข้าใจง่าย และต้องการ ให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเต็มใจในการตอบคำถามมากขึ้น
สรุปผล: คุณภาพการให้บริการสถานพยาบาลในเรือนจำโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีผลสำคัญ ต่อคุณภาพบริการ คือ บุคลากร การร่วมมือกับองค์การอื่น การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ ทรัพยากร, เทคโนโลยีและการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถทำนายคุณภาพการบริการได้ร้อยละ 80 ข้อเสนอแนะในการพัฒนา ได้แก่ การเพิ่มห้องน้ำ การใช้ภาษาที่สุภาพ และการมีท่าทีเต็มใจในการตอบคำถามของเจ้าหน้าที่
References
ชัชชัย นาลี สัญญา เคณาภูมิ และ เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2562). การจัดการศึกษาแก่ผู้ต้องขังภายในเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธงชัย ทองคำ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ปริญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวรีิยาสาส์น.
รังสรรค์ สิงหเลิศ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ราชกิจจานุเบกษา (2560, 6 เมษายน). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. เล่ม 134, ตอนที่ 1: ก.
เรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2566. มหาสารคาม: เรือนจำ จังหวัดมหาสารคาม.
วริศรา เบ้านู และพาณี สีตกะลิน. (2562). คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการ ที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารสุขศึกษา, 42(1), 157-172.
วิชัย อุระอิต. (2559). คุณภาพการให้บริการของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลนของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารบริหารธุกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(1), 107-119.
วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2553). คุณภาพในงานบริการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2564). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข.
โสรัจจะราช เถระพันธ์. (2561). คุณภาพการบริการของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Aday, L.A., & Andersen, R. (1975). Development of indices of Access to Medical Care. Michigan: Ann Arbor Administration Press.
Babakus, E., Boller, G.W., & Mehta, S.C. (1991). The role of expectations in the measurement of service quality: An empirical assessment of the SERVQUAL scale. Journal of Business Research, 21(3), 253-268.
Gothberg, C. (1986). Look at Factors Affecting. U.S.A.: Monthly Labour.
Gronroos, C. (2007). Service management and marketing: Customer management in service competition (3rd ed.). John Wiley and Sons.
Harold, J.L., & Homa, B. (1964). Managerial Psychology: Managing Behavior in Organizations (5thed.). Chicago: University of Chicago.
Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Leavitt, H.J., & Pondy, L.R. (1964). A Comparative Study of Departmental and General Management. New York: Columbia University Press.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L.L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.
Scardina, S.A. (1991). SERVQUAL: A tool for evaluating patient satisfaction with nursing care. Journal of Nursing Care Quality, 5(2), 38-46.
Tilles, S. (1963). How to Evaluate Corporate Strategy. Harvard Business Review, 41(4), 111-121.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.
Zeithaml, V.A., Bitner, M.J., & Gremler, D.D. (2018). Services marketing: Integrating customer focus across the firm (7th ed.). McGraw-Hill Education.
Zeithaml, V.A., Parasuraman, A., & Berry, L.L. (1990). Delivering Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York: The Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ