การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สำหรับนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • สลักจิตร คณะฤทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0007-3895-6031
  • ศิริชัย ศรีพรหม คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0003-5122-3773
  • ภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0004-7769-6269

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282312

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า, นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา, หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต, รายวิชาตะกร้อ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ พ.ศ.2561 มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนที่มีการปฏิบัติภาคสนาม ผู้วิจัยในฐานะของอาจารย์ประจำหลักสูตรจึงได้เล็งเห็นว่านักศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดทักษะที่จำเป็นในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและการประกอบอาชีพในอนาคตในหลายทักษะ เช่น ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ (2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าฯ และ (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าฯ

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และ 3) แผนการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 4) แบบวัดความรู้ 5)แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และ 6) แบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบทีสำหรับการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน

ผลการวิจัย: 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามี 5 องค์ประกอบ ได้แก่
(1) หลักการออกแบบการจัดการเรียนรู้  (2) วัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้  (3) ทักษะการแก้ปัญหาที่ต้องพัฒนาในการแก้ปัญหา (4) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ (5) การประเมินผล การนำไปใช้และผลที่เกิดกับผู้เรียน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหารายข้อ (I-CVI) อยู่ระหว่าง 0.86 – 1.00 และมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของรูปแบบทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 0.80 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีดังนี้ (1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้รูปแบบฯสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 11.909 , Sig = .000) (2) ด้านของประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งพิจารณาจากค่า E1/E2 โดยมีค่าเท่ากับ 96.67/90.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 (3) ด้านทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในภาพรวมพบว่ามีทักษะอยู่ในระดับดีมาก (M= 3.87, SD = .149) และ (4) ด้านเจตคติของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในรวมมีเจตคติอยู่ในระดับดีมาก (M = 4.67 , SD = 0.35)

สรุปผล: จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์บรรลุผลลัพธ์กิจกรรมการเรียนการสอนทำให้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น

References

เกียรติวัฒน์ วัชญากาญจน์, สุรางค์ เมรานนท์, และชาตรี เกิดธรรม. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาพลศึกษาสถาบันการพลศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(3), 1-18.

จิราวัลณ์ วินาลัยวนากูล, ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, และชมนาด วรรณพรศิริ. (2558). รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธวิธีอภิปัญญาที่ส่งเสริมความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้และการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนิสิตพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(3), 114-126.

ณัฐิกานต์ รักนาค. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้านการแก้ปัญหาการให้เหตุผลและการเชื่อมโยงของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นรินธน์ นนทมาลย์. (2560). การสำรวจคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาตามความต้องการ ของคณาจารย์. วารสารวิชาการของสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 14(1), 115-127.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : บริษัท. สุวีริยาสาส์น จำกัด.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ราชกิจจานุเบกษา. (เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง,). ม.ป.ท.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

พนม จองเฉลิมชัย. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับ นักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยศวัฒน์ เชื้อจันอัด, นพคุณ ภักดีณรงค์, และนฤมล อเนกวิทย์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้พลศึกษาด้านทักษะปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 21(2), 235-249.

วลิดา อุ่นเรือน. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยการปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิจิตร หลานวงค์, ไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์, และนฤมล อินทร์ประสิทธิ์. (2563). กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเจตคติของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย : กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลสวนสนุก. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 73-85.

สมมาตร คำเพิ่มพูล (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจิตสำนึกโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ (กศ.ม. หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุภางค์ จันทวานิช. (2547). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารมณ์ จันทร์ลาม. (2550). ผลของการสอนการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนโดยใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Bourne, L. E., Jr., Edstrand, B. R., & Dominowski, R. I., (1971). The psychology of thinking. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Davis, L. L. (1992). Instrument review: Getting the most from a panel of experts. Applied Nursing Research, 5, 194-197.

Hamilton, R. T., Shultz, S. J., Schmitz, R. J., & Perrin, D. H. (2008). Triple-hop distance as a valid predictor of lower limb strength and power. Journal of athletic training, 43(2), 144-151.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2004). Models of teaching. Boston: Allyn and Bacon.

Krulik, S., & Rudnick, J. A. (1993). Reasoning and problem solving: A handbook for elementary school teachers [Mimmeograph]. Massachusetts: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-12

How to Cite

คณะฤทธิ์ ส. ., ศรีพรหม ศ. ., & วงศ์สร้างทรัพย์ ภ. . (2025). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สำหรับนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 1007–1024. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282312

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ