ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • ปุณณา กัลยาคุณาภรณ์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม https://orcid.org/0009-0006-9816-6421
  • เรืองอุไร เศษสูงเนิน วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม https://orcid.org/0009-0000-7956-6266
  • สุพรรณี สมานญาติ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม https://orcid.org/0009-0007-6105-9363

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282305

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นําดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา, ความสุขในการปฏิบัติงานของครู

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบการศึกษา สร้างทั้งโอกาสและความท้าทายให้กับครูและผู้บริหารสถานศึกษา ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประสิทธิผลการบริหารงานและการสร้างความสุขในการปฏิบัติงานของครู ด้วยตระหนักถึงความสำคัญนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมระบบบริหารจัดการที่เป็นดิจิทัล ภายใต้ทิศทางพัฒนาคุณภาพการศึกษา "4 ดี 4 สร้าง 4 สุข" ตามแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยมุ่งหวังให้ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1, 2566) การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 2) เพื่อศึกษาความสุขในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและความสุขในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1

ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 291 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย: 1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ความสุขในการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและความสุขในการปฏิบัติงานของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง (r = 0.661, p < .01) 4) ภาวะผู้นำดิจิทัลที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครูอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านดิจิทัล การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ 0.675 สามารถพยากรณ์ความสุขในการปฏิบัติงานของครูได้ร้อยละ 45.60

สรุปผล: ในการส่งเสริมความสุขในการปฏิบัติงานของครูในยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านดิจิทัล การมีวิสัยทัศน์ด้านดิจิทัล และการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตามลำดับ

References

กวินท์ บินสะอาด. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ก่อกนิษฐ์ คำมะลา. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ณัฐชนนท์ คงอยู่. (2566). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 28(1), 25-37. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/260653

ธิปัตย์ ทั่นเส้ง, และมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2562). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความสุขในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 415-416. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/241155

นภัสรัญช์ สุขเสนา, ปารย์พิชชา ก้านจักร, และเสาวนี สิริสุขศิลป์. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(3), 178-191. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/253716

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ปิยภรณ์ ศาสตร์ทรัพย์, ทินกร ชอัมพงษ์, และเยาวเรศ ภักดีจิตร. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลกับการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. วารสารสหวิทยาการและการวิจัย, 4(1), 805-822.

รุสมัน มะนอ, และอำนวย ทองโปร่ง. (2566). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 15(1), 134-148. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/263435/178592

สมาน ประวันโต. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 23(3), 53-69.

สาลีวรรณ จุติโชติ, และทิพมาศ เศวตวรโชติ. (2564). การดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุขในยุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 1(3), 77-79.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 – 2570) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 1. สำนักงาน.

สุธีรา สีมา, ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์, สุรีพร อนุศาสนนันท, และ ทรงวุฒิ อยู่เอี่ยม. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและแนวทางการส่งเสริมความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 4(1), 100-117. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/250676

สุนิสา ศรีสมภาร, และโสภณ เพ็ชรพวง. (2566). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเอกชน อำเภอเมืองนครราชสีมา. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 5(3), 14-26. https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/ejes/article/view/8779

หยาดพิรุณ พันธ์ช่วย. (2565). การจัดการความเครียดของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อธิพัฒน์ วรนิธิภาคย์. (2566). ปรัชญาทางสังคมศาสตร์และการวิเคราะห์ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการของอับราฮัม ฮาโรลด์ มาสโลว์. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ, 4(3), 57-71. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/TRDMJOPOlSU/article/view/268840

อมรรัตน์ ทองดี, สมใจ เดชบํารุง, สมบัติ เดชบํารุง, วิโรจน์ สุรสาคร, และจามจุรี จําเมือง. (2567). ภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษากับความสุขในการทำงานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11), 47-58. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/278156/184370

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970) Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Nurudeen, O., Ibikunle, G. A., & Badmus, A. A. (2023). Principals’ digital transformational leadership, teachers’ organizational commitment, and job satisfaction during COVID-19 in Lagos State Education District V, Nigeria. International Journal of Humanities Technology and Civilization, 8(1), 68–73. https://doi.org/10.15282/ijhtc.v8i1.9424

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-09

How to Cite

กัลยาคุณาภรณ์ ป., เศษสูงเนิน เ. ., & สมานญาติ ส. . (2025). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 811–824. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282305

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ