ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบินศูนย์การบินทหารบก
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282173คำสำคัญ:
สมรรถนะหลัก, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, นักบินศูนย์การบินทหารบกบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: สมรรถนะหลักของนักบินศูนย์การบินทหารบกสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ การป้องกันรักษาดินแดน และการพัฒนาบุคลากรสำหรับศตวรรษที่ 21 และแผนกลยุทธ์ของชาติ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะหลักของนักบินศูนย์ การบินทหารบก 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสมรรถนะหลักของนักบินศูนย์การบินทหารบกโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของนักบินศูนย์การบินทหารบกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบินศูนย์การบินทหารบก
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงปริมาณนี้ใช้นักบินศูนย์การบินทหารบกเป็นประชากรในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักบินศูนย์การบินทหารบก จังหวัดลพบุรี จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย: 1) นักบินศูนย์การบินทหารบกมีสมรรถนะหลักอยู่ในระดับมากที่สุด 2) นักบินศูนย์การบินทหารบกที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระยะเวลารับราชการ และชั่วโมงบินแตกต่างกัน มีสมรรถนะหลักแตกต่างกัน และนักบินศูนย์การบินทหารบกที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพสมรส หน่วยต้นสังกัด ตำแหน่ง และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีสมรรถนะหลักไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ 0.05 3) สมรรถนะหลักของนักบินศูนย์การบินทหารบกมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกันในระดับสูงมาก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.929 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
สรุปผล: การมีสมรรถนะหลักในระดับที่สูงมากขึ้นก็จะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานของนักบินศูนย์การบินทหารบกในระดับสูงมากขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากสมรรถนะหลักได้จากประสบการณ์การทำงาน องค์กรจึงควรเน้นไปที่การพัฒนาการอบรมและการทำงานจริง
References
กรมกำลังพลทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. (2565). แผนปฏิบัติราชการด้านกำลังพล พ.ศ. 2566 – 2570. กรมกำลังพลทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย.
กรมสารบรรณทหารบก. (2567). สมรรถนะกำลังพลกองทัพบก. กรมสารบัญทหารบก.
กองทัพบก. (2544). ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการพิจารณาบําเหน็จประจำปี พ.ศ. 2544. กองทัพบก.
กองทัพบก. (2564). การพัฒนากำลังพลสู่ความเป็นมืออาชีพ. กองทัพบก.
กำพล ภิญโญกุล. (2558). การพัฒนาตัวแบบสมรรถนะนักบินพาณิชย์ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ชำเลือง สุขประวิทย์. (2559). ลักษณะบุคคล และความสัมพันธ์กระบวนการการทำงาน และจิตวิทยาในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ กลุ่มระดับด้านบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์, 1(1), 998-1006.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). ไทยเนรมิต กิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
ตวงพร ศรีชัย และคณะ. (2562). สมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 54-71.
ประจิตต์ ประจักษ์จิตต์ และคณะ. (2551). สุดยอดนักบิน: Redefining Airmanship. สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.
ปุญณัฐส์ นําพา และ ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา. (2562). แบบจําลองสมรรถนะของนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน ประสบการณ์การบิน และนวัตกรรมการจัดการที่มีผลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติการบินในประเทศไทย. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 66-84.
พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร พุทธศักราช 2521. (2521, 20 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 95 ตอนที่ 43 ก., 1-19.
พราวแพรวสิริรัตน์ พงศ์พันธ์, ภัททิราภรณ์ คำยัง, ศุภลักษณ์ ภาวันนา, กานดา ไสยรัตน์, รัตนา สีดี. (2565). เทคโนโลยีดิจิทัล HR กับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทรัพยากรบุคคล. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์. 4 (4), 27-40.
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. (2561, 8 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก.,1-70.
รวิภา ธรรมโชติ. (2561). สมรรถนะของข้าราชการทหารระดับปฏิบัติการ. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 414-428.
ศูนย์การบินทหารบก. (2566). รายงานประจำปีศูนย์การบินทหารบก ประจำปีงบประมาณ 2566. ศูนย์ การบินทหารบก.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือ สมรรถนะหลัก. บริษัท ประชุมช่าง จํากัด.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2564). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2564 – 2565). สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
อารีรัตน์ บุญรัตน์. (2561). ปัจจัยส่วนบุคคลและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล การปฏิบัติงานของพนักงานบริการเที่ยวบินและผู้โดยสารภาคพื้น บริษัท แพนไทยแอร์ (กรุงเทพ) จำกัด. (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
European Aviation Safety Agency. (2020). Annual Safety Review 2020. Germany: European Aviation Safety Agency.
Federal Aviation Administration (FAA). (2023). Pilot's Handbook of Aeronautical Knowledge (2023): FAA- H-8083-25B (ASA FAA Handbook Series). Washington: Aviation Supplies & Academics, Inc.
Flight Safety Foundation. (2005). Aero Safety World. Retrieved 1 May 2024 from https://flightsafety.org/asw-landing-page-2/
International Air Transport Association. (2023). Competency Assessment and Evaluation for Pilots, Instructors and Evaluators - Guidance Material (2nd Edition). Montreal: International Air Transport Association.
International Civil Aviation Organization. (2013). Manual of Evidence-Based Training (Doc 9995). Montreal: International Civil Aviation Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ