ปัญหาสังคมไทยในนวนิยายที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2561 และ 2564
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282120คำสำคัญ:
ปัญหาสังคม, นวนิยายเข้ารอบสุดท้าย, รางวัลซีไรต์บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: วรรณกรรมรางวัลซีไรต์เป็นผลงานที่ได้รับการยอมรับและยกย่องถึงปัจจุบัน โดยผู้ประพันธ์แต่ละคนถ่ายทอดความคิด ค่านิยม และเหตุการณ์ในสังคมผ่านตัวอักษร สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาสังคมไทยในนวนิยายที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2561 และ 2564 จำนวน 17 เรื่อง โดยวิเคราะห์ตัวบทของนวนิยายกล่าวข้างต้นสะท้อนปัญหาสังคมช่วยให้ผู้อ่านมีความเข้าใจสภาพสังคมไทย
ระเบียบวิธีการวิจัย: ผู้วิจัยได้สำรวจและรวบรวมข้อมูลจากนวนิยายที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2561 และ 2564 เฉพาะที่มีเนื้อหาสะท้อนปัญหาสังคมไทยในด้านต่าง ๆ โดยใช้แนวคิดภาพสะท้อนสังคมในการวิเคราะห์ตัวบทนวนิยายและนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย: จากการวิจัยพบภาพสะท้อนปัญหาสังคม 5 ด้าน คือ 1) ปัญหาสภาพความเป็นอยู่ แยกเป็นในเมืองและชนบท ในเมืองพบมีปัญหาแออัด ค่าครองชีพสูง ค่ารถแพง การจราจรติดขัด และน้ำท่วม ทำให้การเดินทางลำบาก ส่วนในชนบทพบมีปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน 2) ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวที่พบเป็นความขัดแย้งระหว่างแม่สามีกับลูกสะใภ้จากค่านิยมต่างวัย และระหว่างพ่อตากับลูกเขยเรื่องอำนาจและทรัพย์สิน ส่งผลให้ครอบครัวตึงเครียด นอกจากนี้ พฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ของสามียังสร้างความขัดแย้ง ทำให้ภรรยาต้องรับภาระคนเดียวและลูกขาดความอบอุ่น 3) ปัญหาหนี้สิน เกิดจากนโยบายเศรษฐกิจและค่านิยมค่าสินสอด ทำให้ครอบครัวยากจนต้องกู้เงินและหนี้สะสมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ชีวิตลำบากและกระทบความมั่นคงของครอบครัว 4) ปัญหาการว่างงานที่เกิดจากการนำเทคโนโลยี หุ่นยนต์ และเอไอมาแทนแรงงานทำให้เกิดการว่างงาน และคนพิการถูกปฏิเสธโอกาสในการทำงานน้อย ชีวิตลำบาก และขาดความเท่าเทียม 5) ปัญหาของเยาวชนที่พบคือ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย ขาดความสนใจการศึกษา ออกจากโรงเรียนทำงาน และการสูบบุหรี่ เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ
สรุปผล: การวิเคราะห์ปัญหาสังคมไทยจากนวนิยายที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2561 และ 2564 พบปัญหาสังคม 5 ด้าน ได้แก่ 1) ปัญหาสภาพความเป็นอยู่ที่แออัดในเมืองและภัยพิบัติในชนบท 2) ความขัดแย้งในครอบครัวที่พบเป็นแม่สามีกับลูกสะใภ้ พ่อตากับลูกเขย และสามีภรรยา 3) ปัญหาหนี้สินจากนโยบายเศรษฐกิจและค่านิยมทางสังคม 4) ปัญหาการว่างงานจากเทคโนโลยีและการถูกกีดกันของคนพิการ 5) ปัญหาเยาวชน มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย ออกจากโรงเรียนทำงาน และมีพฤติกรรมเสี่ยงที่เหมาะก่อนวัย
References
กร ศิริวัฒโณ. (2561). คนในนิทาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: นาคร.
กิตติศักดิ์ แก้วตา. (2566). วาทกรรมชายขอบในเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2551-2560. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยพะเยา.
กิตติศักดิ์ คเชนทร์. (2559). บ้านในโคลน. นครศรีธรรมราช : แมวบ้าน.
จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท. (2563). วรรณกรรมที่แท้จริงน่ะ ต้องใช้คอมพิวเตอร์เขียนเท่านั้นไม่รู้เหรอ. สระบุรี : พะโล้ พับลิชชิ่ง.
จินตนา อินทร์แหยม. (2562). บทความออนไลน์เรื่อง: สังคม สิ่งแวดล้อม เรื่องเล่าส่วนบุคคล ทิศทางวรรณกรรมไทยจาก 8 Shortlist ซีไรต์ ปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ARIT NPRU, 12 พฤศจิกายน, 1-2.
ทรงศีล ทิวสมบุญ. (2562). รอยสนธยา. กรุงเทพฯ : คละสี.
ธเนศ เวศร์ภาดา (2561). ไทยโพสต์. Retrieved on 25 September 2024 fromhttps ://www.thaipost.net/main/detail/15601.
ประชาคม ลุนาชัย. (2561). ในกับดักและกลางวงล้อม. นนทบุรี: ศรีปัญญา.
ปราปต์. (2564). สุสานสยาม. กรุงเทพฯ : สมมติ.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2547). “25 ปีซีไรต์” ใน 25 ปีซีไรต์ รวมบทวิจารณ์คัดสรร. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
วชิรวิชญ์ บุญทา. (2566). ความรุนแรงในเรื่องสั้นที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ารับการตัดสินรอบสุดท้ายเพื่อรับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2560. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยพะเยา.
วิชลดา ยิ้มแย้ม. (2558). ภาพครอบครัวในนวนิยายรางวัลซีไรต์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิทย์ ศิวะศริยานนท์. (2541). วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ธรรมชาติ.
วีรพร นิติประภา. (2561). พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ. กรุงเทพฯ : มติชน.
ศิริวร แก้วกาญจน์. (2564). เดฟั่น: เรื่องเล่าของตระกูลคนเฆี่ยนเสือจากไทรบุรี. กรุงเทพฯ : ผจญภัย.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2542). สังคมวิทยาปัญหาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธิดา สุวรรณวงษ์. (2564). สังคมเมืองร่วมสมัยในวรรณกรรมสยองขวัญของภาคินัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุสรณ์ มาราสา. (2565). ภูเขาน้ำตา (พิมพ์ครั้งที่ 3). สตูล: บลูเบิร์ด.
อ้อมแก้ว กัลยาณพงศ์. (2561). อีกไม่นานเราจะสูญหาย. นครปฐม: เม่นวรรณกรรม.
อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2558). เลื่อมลายสายรุ้ง: ภาพสะท้อนสังคมในนวนิยายปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Mo Ling Fen. (2560). ปัญหาครอบครัวในสังคมไทย: ในนวนิยายไทยช่วง พ.ศ. 2508 – 2557. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ