แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรอาชีพเสริมของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนภาคเหนือ
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282097คำสำคัญ:
แนวทางการบริหารจัดการ, หลักสูตรอาชีพเสริม, ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนภาคเหนือบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน มีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการหลักสูตรอาชีพเสริมยังมีความท้าทายและต้องการแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรอาชีพเสริมของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนภาคเหนือ
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามวัตถุประสงค์หรือการเลือกตัวอย่างแบบโควตา (Stratified Purposeful Sampling Quota Sampling) ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรอาชีพเสริมของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนภาคเหนือ ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการด้านบุคลากร ด้านทรัพยากร ด้านงบประมาณ และด้านการจัดการ และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการ ได้แก่ การวิเคราะห์ความต้องการของตลาดแรงงาน การจัดการความยั่งยืน การสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และการประเมินผลและติดตามผลการเรียนรู้
สรุปผล: แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรอาชีพเสริมของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนภาคเหนือที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาศักยภาพแรงงานและความยั่งยืนของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนภาคเหนือ โดยเฉพาะในด้านการจัดการทรัพยากร บุคลากร งบประมาณ และการบริหารจัดการ แนวทางเหล่านี้สามารถนำไปใช้โดยผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ผู้วางแผนด้านการศึกษา และผู้กำหนดนโยบายทางการศึกษา เพื่อพัฒนาและบริหารจัดการหลักสูตรอาชีพเสริมให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนได้อย่างยั่งยืน
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2551). คู่มือศูนย์เรียนรู้ชุมชน. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). รายงานประจำปี 2564 กรมการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : กระทรวง มหาดไทย.
กรมส่งเสริมการเรียนรู้. (2566). รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุษย์. (2564). รายงานสถานการณ์ทางสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ระดับประเทศ ประจำปี 2564. กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ชลชาติ สร้อยทอง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปทุมคงคา. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14, 19 ธันวาคม 2562.
ณฐกร ลิ่มสุวรรณโรจน์, ดร.ทวีศักดิ์ กฤษเจริญ, และ ดร.วินัย หอมสมบัติ. (2558). เส้นทางของการพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ.วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29 (2), 32-48.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2557. (2557, 26 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนพิเศษ 87ก, หน้า 19.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545. (2545, 1 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 98/1ก, หน้า 1.
พันธ์ศักดิ์ แสนพรมมา, สุชาติ ลี้ตระกูล, แสงระวี ณ ลำพูน และ กัมพล ไชย์นันท์. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในจังหวัดพะเยา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(2), 168-177.
รัญชิดา จุลรักษา. (2564). การศึกษาปัจจัยการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนที่มีผลต่อความพึงพอใจและความสำเร็จของ องค์กรผ่านการรับรู้ได้ของพนักงานภายในบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (สำนักงานใหญ่) ตามแนวคิดภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน (Sustainable Leadership).ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรธา มงคลสืบสกุล. (2565). แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสู่การพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหลังยุคโควิด-19. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(1), 283-298.
สมเดช มุงเมือง. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงราย : ฝ่ายเอกสารตำราศูนย์พัฒนาธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
สิตาภา เกื้อคลัง. (2561). องค์ประกอบและแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของกศน.ตำบล (FACTORS AND GUIDELINES TO FACILITATE LIFELONG LEARNING IN NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATION SUB-DISTRICT CENTERS). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุกิจ อัครมหาเสนาวงศ์, สุวดีอุปปินใจ, ไพรภ รัตนชูวงศ์ และ ประเวศ เวชชะ. (2565). แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. Journal of Modern Learning Development. 7 (2), 1-18.
สุธาวี กลิ่นอุบล. (2562). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทาง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุนิสา ฮวบกอง. (2556) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภอหนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
หนึ่งฤทัย มั่นคง และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาในยุค Thailand 4.0 (School Administration Communities Participation in Thailand 4.0). วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(2), 444-458.
Daft, R.L. (2018). Organization theory and design. Boston, MA : Cengage Learning.
McKim, C. (2023). Meaningful Member-Checking: A Structured Approach to Member Checking. American Journal of Qualitative Research, 7(2), 41-52.
Mintzberg, H. (2018). Strategy Safari : A Guided Tour Through the Wilds of Strategic Management. Free Press.
Singh, S., & Sharma, R. K. (2562). Man, Materials, Money and Management : What is the most important pillar of management. International Journal of Social Sciences and Humanities Review, 9(1), 95-102.
United Nations Development Programme. (2018). UNDP Annual Report 2018 Kenya. United Nations Development Programme.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ