ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของผู้สูงอายุที่ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่นท้าว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เมธี โยธาทูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่นท้าว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0000-0045-2152
  • ยุทธศาสตร์ แก้ววิเศษ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่นท้าว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0001-6882-8790
  • ปารณีย์ ศรีวิเศษ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่นท้าว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0002-1268-035X
  • สุจิตรา เพียกุนา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่นท้าว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0003-0411-622X
  • ดวงใจ จันทรา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่นท้าว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0005-1125-1467
  • รุ่งเรือง แสนโกษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0009-5686-0150

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281777

คำสำคัญ:

โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภา, การป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้า, ผู้สูงอายุที่ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ภาระงานส่วนใหญ่ยังอยู่ที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นหลัก ดังนั้นการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของผู้สูงอายุที่ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลตนเองและป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าหรืออื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของผู้สูงอายุที่ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2  และ (2) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของผู้สูงอายุที่ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยศึกษาในพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่นท้าว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของในสูงอายุที่ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 98 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*power แบ่งออกเป็น 2 คือกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ จำนวน 27 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์การคัดเข้า-คัดออก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง ด้วย Paired sample t-test และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ด้วย Independent t-test

ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.036) และกลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ และมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.047) และกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมสุขภาพ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.001) และเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ Mean Difference=0.114, 95% CI = (0.054 ถึง 0.175), P-value<0.001 และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ Mean Difference=0.447, 95% CI = (0.109 ถึง 0.785), P-value=0.01 และกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ Mean Difference=0.309, 95% CI = (0.059 ถึง 0.560), P-value=0.016

สรุปผล: ดังนั้น โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของผู้สูงอายุที่ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถทำให้ความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของผู้สูงอายุที่ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นได้

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2545). ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพองคการเภสัชกรรม.

จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์, นฤมล คูณเจริญรัตน์, อัจฉรียา สีหะวงค์ และ เบญจรัตน์ จิตทยานันท์. (2566). ปัจจัยเสี่ยงของภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติกในเลือดสูงเนื่องจากยาเม็ทฟอร์มินในคนไข้เบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาเม็ท ฟอร์มิน. วารสารไทยเภสชั ศาสตรแ์ ละวทิ ยาการสุขภาพ. 18(1), 84-89.

จิรปรียา บุญสงค์, จีระศักดิ์ เจริญพันธ์ และ จิราพร วรวงศ์. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 23(2), 46-59.

เทพ หิมะทองคำ, รัชตะ รัชตะนาวิน, และ ธิดา นิงสานนท์. (บรรณาธิการ). (2554). ความรู้เรื่องโรคเบาหวานฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเท้าต่อพฤติกรรมการดูแลเท้า ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 14(4), 175-181.

ราตรี ทองคำ (2565). ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดลพบุรี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 30(3), 86-99.

แววตา เพ็งบูรณ์ และวีรวรรณ เกิดทอง (2567). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหาร ดัชนีมวลกาย และค่าน้ำตาลสะสม ในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่น้ำหนักเกิน คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Retrieved from: https://srth.go.th/research/file/20240708152521-79_2567%20แววตา%20เพ็งบูรณ์.pdf

สมเกียรติ โพธิสัตย์, วรรณี นิธิยานันท์, อัมพา สุทธิจำรูญ, และ ยุพิน เบ็ญจสุรัตน์วงศ์ (บรรณาธิการ), (2556). การให้ความรู้ เพื่อจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเอง (หน้า 103-112). นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุปรีชา แก้วสวัสดิ์, อรฤทัย อับดุลหละ และ นเรศักดิ์ แก้วห้วย. (2563). การวิจัยกึ่งทดลอง: งานประจำสู่การวิจัยกึ่งทดลอง สำหรับนักสาธารณสุข.วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา. 35(1), 30-39.

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2553). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 6 มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์.

สุเมธ นาจรัส และคณะ. (2566). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับตำบลของจังหวัดพะเยา. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

สุรชัย อยู่สาโก. (2550). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองท่าพระ – พระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปกร.

หนึ่งฤทัย จันทร์อินทร, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ และพรทิพย์ มาลาธรรม. (2558). พฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. Rama Nurs Journal. 2(2), 200-212.

อรุณ จิรวัฒน์กุล (2556). การนำเสนอผลต่างของการสอนด้วยขนาดอิทธิพล. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 22(6), 935-936.

อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ และคณะ. (2564). การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อจัดการสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงในบริบทคลินิกหมอครอบครัว: กรณีศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 15(2), 155-173.

DeRue, D., Ashford, S., & Myers, C. (2012). Learning Agility: In Search of Conceptual Clarity and Theoretical Grounding. Industrial and Organizational Psychology, 5, 258-279. https://doi.org/10.1111/j.1754-9434.2012.01444.x

Moulik, P.K., Mtonga, R., Gill, G,V. (2023). Amputation and mortality in new-onset diabetic foot ulcers stratified by etiology. Diabetes Care. 26(2), 491-4. doi: 10.2337/diacare.26.2.491.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a Public Health Goal: A Challenge for Contemporary Health Education and Communication Strategies into the 21st Century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

World Health Organization. (‎1995)‎. The World Health Report: 1995: bridging the gaps/report of the Director-General. World Health Organization. https://iris.who.int/handle/10665/41863

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-06

How to Cite

โยธาทูล เ. ., แก้ววิเศษ ย. ., ศรีวิเศษ ป. ., เพียกุนา ส. ., จันทรา ด. ., & แสนโกษา ร. . (2025). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของผู้สูงอายุที่ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่นท้าว อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 467–478. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281777

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ