ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

ผู้แต่ง

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ, การบริหารสถานศึกษา, ความสำเร็จในการบริหาร

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา มีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านการจัดโครงสร้าง ปัจจัยด้านนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ปัจจัยด้านผู้เรียนและผู้รับบริการ และปัจจัยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.846 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 จำนวน 330 คน โดยหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณจากสูตร Yamane สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน

ผลการวิจัย: พบว่า ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผลการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลกับความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์รวม (rxy) 0.823 และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาประกอบด้วย ปัจจัยด้านผู้เรียนและผู้รับบริการ ปัจจัยด้านนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ปัจจัยการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านผู้บริหาร และปัจจัยด้านการจัดโครงสร้าง ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุปผล: ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา เกิดจากการทำงานร่วมกันของปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะบทบาทสำคัญของครูผู้สอน ผู้บริหาร และการมีส่วนร่วมของชุมชน ครูผู้สอนต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ที่หลากหลาย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและสามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้ การมีส่วนร่วมของชุมชนก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียน นอกจากนี้ นโยบายที่ชัดเจนและการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ การทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา

References

ครองยุทธ นบนอบ, สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี, และพจนีย์ มั่งคั่ง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการบริหารความ เสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(6), 40-54.

ฉัตรกมล สมแตง. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 172-188.

ธนายุทธ ช่อมะลิ. (2563). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นฏกร ปันพุ่มโพธิ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิตยา ขันเดช. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ปรมพร ทิพย์พรม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนคุณภาพประจำ ตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

เพ็ญพรรณ เครากระโทก. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัย บูรพา.

วรวิทย์ ประทีป ณ ถลาง ประพันธ์ ขจัดภัย, ยงยุทธิ์ จันทิมา และ นวพรรษ ศุภวรางกูล. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการพัฒนามารยาทไทยสำหรับนักเรียน (EQFS Model). JOURNAL OF TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT. 2 (3), 89-100.

วริศรา อรุณกิตติพร. (2561). ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วริษา เจียวิริยบุญญา (2564). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2.ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

วิชิต แสงสว่าง, และอำนาจ ศรีแสง. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในอำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี. วารสารเซนต์จอห์น, 23(33), 351-365.

วิมาลย์ ลีทอง. (2563). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สโรทัย นนัทวงษ์. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีต่อโครงการทำมาค้าขายของโรงเรียนประชารัฐภาคตะวันออก, ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2565). ข้อมูลทั่วไปของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. หนองคาย: ผู้แต่ง.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุจินตนา ตรงประสิทธิ์. (2560). การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดปัตตานี (การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Hastings, N. B., & Handley, H. L. (2019). School-based attributes instrumental in student success in a Florida charter middle school: A formative case study. Journal of Formative Design in Learning, 3(1), 39-52.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-08

How to Cite

ศรีเจริญชัย ศ. . (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 757–770. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/IARJ/article/view/281732

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ