ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจบริการ

ผู้แต่ง

  • นรินทร์ณา หน่อท้าว คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://orcid.org/0009-0005-0700-2230
  • ปานฉัตร อาการักษ์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://orcid.org/0009-0008-5538-7026
  • อรวรรณ เชื้อเมืองพาน คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://orcid.org/0009-0008-1505-5246

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281649

คำสำคัญ:

อัตราส่วนทางการเงิน, อัตราเงินปันผลตอบแทน, บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์, กลุ่มธุรกิจบริการ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ในช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวน นักลงทุนอาจให้ความสำคัญกับการได้รับเงินปันผลมากกว่าการเก็งกำไรจากราคาหุ้น อัตราเงินปันผลตอบแทน เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่นักลงทุนใช้เพื่อประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น โดยอัตรานี้จะแสดงผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับในรูปแบบของเงินปันผลต่อราคาหุ้น ณ ขณะนั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่ออัตราเงินปันผลตอบแทน ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจบริการ 

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลการบริการระบบข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ออนไลน์ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ. 2563-2565 จำนวน 321 ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สติถิเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะหการถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการวิจัย: อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับอัตราเงินปันผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ประกอบด้วย อัตราส่วนทุนหมุนเวียน และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตรากำไรสุทธิ มีความสัมพันธ์ต่ออัตราเงินปันผลตอบแทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุปผล: จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับอัตราเงินปันผล ประกอบด้วย อัตราส่วนทุนหมุนเวียน ส่วนอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตรากำไรสุทธิ โดยอัตราส่วนทางการเงินทั้งหมดนี้ แสดงถึงความสามารถในการสร้างกำไรและความมั่นคงทางการเงินของบริษัท หากอัตราส่วนเหล่านี้อยู่ในระดับที่ดี บริษัทมีแนวโน้มที่จะจ่ายเงินปันผลได้สูงและสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ลงทุนที่มองหาผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบเงินปันผล

References

กัตติกมาศ ราชิวงศ์. (2564). อัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่อการจ่ายเงินปันผลและราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชิดชนก มากเชื้อ, ปรีชา เจริญสุข และกมลพร วรรณชาติ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนการจ่ายเงินปันผล บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. รายการการวิจัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ฐิติเมธ โภคชัย. (2564). หุ้น SET100 ส่งมอบความสดใส ให้อัตราเงินปันผลตอบแทนเกิน 5%. Retrieved on 13 February 2024 from https://www.setinvestnow.com/th/home

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). การจ่ายเงินปันผล. Retrieved on 13 February 2024 from https://www.set.or.th/th/home

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. Retrieved on 13 February 2024 from https://www.set.or.th/th/home

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). การเปลี่ยนแปลงภาคการท่องเที่ยวไทยกับก้าวต่อไปหลังเปิดประเทศ. Retrieved on 26 February 2024 from https://www.bot.or.th

นพดล สังข์ลาย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างวงจรธุรกิจกับการจ่ายปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุรพร กําบุญ. (2565). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนความสามารถในการทำกําไรกับเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสหศาสตร์, 22(1), 67-84.

เบญจพร โมกขะเวส และมนัส หัสกุล. (2565). อัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนและอัตราการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, 6(4), 85-94.

ปิยะพร สารสุวรรณ. (2562). อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศุลีพร คําเครื่อง และเบญจพร โมกขะเวส. (2564). อิทธิพลของสภาพคล่องและความสามารถในการบริหารหนี้สินที่มีต่อราคาหุ้นและอัตราเงินปันผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 9(2), 171-188.

สาริยา นวลถวิล และกุสุมา ดำพิทักษ์. (2563). อัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนี sSET. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 12(1), 304-318.

สาริยา นวลถวิล. (2562). อัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อการจ่ายเงินปันผล ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุมิตรา ตั้งสมวรพงษ์. (2565). การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย. Retrieved on 3 February 2024 from https://www.set.or.th/th/home

อภิญญามาศ ชมภู. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรและความสามารถในการบริหารหนี้สินกับการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลุ่ม SET100). วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Black, K. (2019). Business statistics: for contemporary decision making. 10th edition. John Wiley & Sons.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. 7th edition. Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-23

How to Cite

หน่อท้าว น. ., อาการักษ์ ป. ., & เชื้อเมืองพาน อ. . (2025). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจบริการ. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 295–310. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281649

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ