แนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ภัคนันท์ ปัญญา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0008-6166-494X
  • กฤษกนก ดวงชาทม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0007-3540-0783

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281614

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, สุขภาพองค์การ, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์การวิจัย: สุขภาพองค์การของสถานศึกษาเป็นสภาวะการปฏิบัติงานตามภารกิจและความรับผิดชอบของสถานศึกษาเพื่อให้มีความพร้อมที่จะคงอยู่และปรับตัวท่ามกลางสภาพแวดล้อมและสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถจะปรับปรุงหรือรองรับการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานและการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง และสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่มาคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาทุกคนปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขและเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา

ระเบียบวิธีการวิจัย : การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 322 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนแนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เพื่อประเมินแนวทาง เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง

ผลการวิจัย: 1. สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าความต้องการจำเป็นเรียงตามลำดับจากค่าสูงสุดถึงต่ำสุด ดังนี้ ด้านการอยู่ร่วมกันของครู ด้านเกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา ด้านการมุ่งเน้นวิชาการ ด้านการสนับสนุนทรัพยากร และด้านความเป็นผู้นำและอิทธิพลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา ประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 ด้าน และ มี 15 แนวทาง ดังนี้ ด้านการอยู่ร่วมกันของครู มี 4 แนวทาง ด้านเกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา มี 3 แนวทาง ด้านการมุ่งเน้นวิชาการ มี 3 แนวทาง ด้านการสนับสนุนทรัพยากร มี 2 แนวทาง และด้านความเป็นผู้นำและอิทธิพลของผู้บริหารสถานศึกษา มี 3 แนวทาง และมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

สรุปผล: สุขภาพองค์การถือว่ามีความสำคัญสำหรับสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน เนื่องจากองค์การที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับสุขภาพขององค์การเป็นสำคัญ เพราะองค์การที่มีสุขภาพสมบูรณ์จะมีผลผลิตที่ดีทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ จะส่งผลให้เป็นที่ยอมรับของสังคม สมาชิกในองค์การมีความสุข มีความพึงพอใจในการทำงาน มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงาน สมาชิกมีความรักและผูกพันต่อองค์การและมีการประสานความร่วมมือในการปฏิบัติภารกิจขององค์การให้บรรลุเป้าหมาย

References

จิราวัฒน์ ไทยประเสริฐ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่าง สุขภาพองค์การ ความสุขในการทำงาน และความผูกพันในงาน กรณีศึกษา :พนักงานธนาคารแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฎฐ์ธนิน โพธิ์พ่วง. (2558). สุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร.การศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐณิการ์ แก้วสุธา. (2564). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 13 (2), 207-220.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด .

ธัชชัย จิตรนันท์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพองค์การของสถานศึกษาในเขตจังหวัดภาคตะวันออก เฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 33 (1), 96-105.

นัยนา สุนะเสน. (2564). สุขภาพองค์การของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 13). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชิษฐา ตนภู. (2559). สุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological test. 5th edition. New York: Harper Collins.

Hoy, K. Wayne and Miskel, G. Cecil. (2005). Education Administration Theory Research and Practice. 7th edition, Singapore: McGraw-Hall.Inc.

Hoy, W.K. and Sabo, D. (1997). Quality Middle Schools: Open and Healthy. California: Corwin Press, Inc.

Miles, Matthew B. (1973). Planned Change and Organizational Health: Figure and Ground. Boston: Allyn and Bacon.

Owen, R.G. (1991). Organizational Behavior in Education. Boston: Allyn and Bacon.

Podgurski, T. P. (1990). School effectiveness as relates to group consensus and organizational health of elementary schools. Dissertation abstracts international, (September), 52(3), 769-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-23

How to Cite

ปัญญา ภ., & ดวงชาทม ก. . (2025). แนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 279–294. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281614

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ