รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ต้นแบบ “เข็มขัดสมุนไพรคลายปวดเมื่อย” สำหรับผู้สูงอายุ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281402คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, เข็มขัดสมุนไพร, บรรเทาปวดบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: จากสถิติผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในคนไทย พ.ศ.2553 พบว่ามีผู้ป่วยโรคข้อนี้มากกว่า 6 ล้านคน และพบว่าผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีอาการข้อเสื่อม โดยใน พ.ศ.2565 ตำบลบางขนากมีผู้สูงอายุ จำนวน 942 คน มีอาการปวดเข่าจากข้อเสื่อมและบรรเทาปวดด้วยยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยวให้บริการพอกเข่าสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในชุมชนและพบว่าการพอกเข่าไม่สามารถลุกเดินได้ โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยจึงได้จัดทำนวัตกรรมเข็มขัดสมุนไพรคลายปวดเมื่อยขึ้น โดยดัดแปลงมาจากลูกประคบเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอาการปวดเข่าระหว่างก่อนและหลังใช้นวัตกรรมเข็มขัดสมุนไพรคลายปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ และศึกษารูปแบบนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เปรียบเทียบอาการปวดเข่าก่อนและหลังการทดลองกับผู้สูงอายุจำนวน 30 คน ที่คัดเลือกแบบเจาะจง บันทึกข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วยแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย: การใช้นวัตกรรมเข็มขัดสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาปวดเข่าในระดับเจ็บปวดมาก หลังใช้นวัตกรรมติดต่อกัน 3 ครั้ง พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ปวดเข่าลดลงอยู่ในระดับเจ็บปวดเล็กน้อย การศึกษายังพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ในการบรรเทาอาการปวดเข่า ซึ่งหลังใช้นวัตกรรมเข็มขัดสมุนไพรช่วยลดปริมาณการใช้ยาดังกล่าวลง และบางรายไม่ใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เลย ผลประเมินความพึงพอใจพบว่าผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมเข็มขัดสมุนไพรในระดับมากที่สุด
สรุปผล: นวัตกรรมเข็มขัดสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาอาการปวดเข่าของผู้สูงอายุ ช่วยลดการรับประทานยายาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งสามารถปรับใช้เข็มขัดสมุนไพรบรรเทาปวดกล้ามเนื้อต่อไปได้
References
กลุ่มงานวิชาการเวชกรรมและผดุงครรภ์แผนไทย. (2559). แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ) จำกัด.
ชุตินันท์ ขันทะยศ, กนกพร ปัญญาดี. (2560). ผลของถุงยาสมุนไพรประคบข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารสุขภาพภาคประชาชน. 12(4), 43 – 49.
ปิยะพล พูลสุข, สุชาดา ทรงผมสุข, เมริษา จันทา, เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงศ์และกิตรวี จิรรัตน์สถิต. (2561). ประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 18(1),104-111.
เหมราช ราชป้องขันธ์. (2560). ลูกมะค่านวดเข่าในผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการปวดเข่าในโรคข้อเข่าเสื่อม. Srinagarind Medical Journal, 32(4), 63. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/94309
Chiranthanut, N., Hanprasertpong, N., Teekachunhatean, S., (2014). Thai massage, and Thai herbal compress versus oral ibuprofen in symptomatic treatment of osteoarthritis of the knee: a randomized controlled trial. Biomed Res Int. 4, 490512. doi: 10.1155/2014/490512
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ