ผลของการเล่นเกมส์ไพ่โซลิแทร์เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงสมองเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสีนวล อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ปัณรินทร์ กัณโสภา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสีนวล จังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0009-6548-525X
  • ยุทธศาสตร์ แก้ววิเศษ สาธารณสุขอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0001-6882-8790
  • พงศกร สีทิศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสีนวล https://orcid.org/0009-0004-2759-2728
  • สุนทร เดิมทำรัมย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสีนวล จังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0000-2914-8381
  • รุ่งเรือง แสนโกษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0009-5686-0150

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281374

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ภาวะสมองเสื่อม, เกมไพ่

บทคัดย่อ

มิหลังและวัตถุประสงค์: ภาวะสมองเสื่อม (Demantia) ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอย่างหนึ่งที่พบได้ในกลุ่มวัยผู้สูงอายุ ทำให้เกิดภาวะพึ่งพิงตามมารวมไปถึงส่งผลกระทบต่างๆทั้งภายในครอบครัวและชุมชนเอง การรักษาในปัจจุบันเป็นเพียงการบรรเทาอาการหรือชะลออาการเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาและไม่ใช่ยา สิ่งที่สามารถทำได้ภายในชุมชนคือการใช้กิจกรรมบำบัดซึ่งในปัจจุบันมีกิจกรรมต่างๆมากกว่า แต่ด้วยในข้อจำกัดของชุมชนซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาในระดับพื้นฐานหรือไม่เกินชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่งผลให้เป็นข้อจำกัดในการทำกิจกรรม ทางผู้วิจัยจึงได้นำการเล่นเกมส์ไพ่ที่มีทั้งตัวเลข สัญลักษณ์และสีมาใช้ในการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเล่นเกมไพ่โซลิแทร์ที่มีต่อภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงสมองเสื่อม

ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองรูปแบบ Pretest-Posttest Control Group Design กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 60-69 ปีบริบูรณ์ ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.บ้านนาสีนวล จำนวน 50 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 คน คัดเลือกโดยที่มีระดับคะแนน Mini-cog ชุดที่ 1 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 คะแนน และคะแนน Moca น้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 คะแนน และวิธีการสุ่มตัวอย่างตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)  กลุ่มทดลองจะได้รับกิจกรรมการเล่นเกมไพโซลิแทร์ 3 เกม/วัน จัดให้เล่น 2 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในทดลอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) เครื่องมือประเมินตัวแปรตาม ได้แก่ 2.1) แบบประเมิน Mini-Cog (S.borson) ชุดที่ 1, 2.2) แบบประเมิน MoCA และ 3) เครื่องมือการทดลอง คือ เกมไพ่โซลิแทร์ รูปแบบ Klondike ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติ Dependent T-test และ Independent T-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองหลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยภาวะสมองเสื่อมเมื่อประเมินด้วยแบบประเมิน Mini-cog และ Moca เพิ่มขึ้นก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Diff. = 1.56, SD = 0.77, t = -10.16, p < .01), (Mean Diff. = 3.64, SD = 1.55, t = -11.73, p < .01) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลองค่าเฉลี่ยภาวะสมองเสื่อมของกลุ่มทดลองแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Diff. = 1.00, SD = 2.07, t = 4.83, p < .01), (Mean Diff. = 1.64, SD = 0.71, t = 2.31, p = .03) และค่าเฉลี่ยภาวะสมองเสื่อมรายด้านของกลุ่มทดลองเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง พบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Diff. = 0.310, SD = 1.55, t = -11.73, p < .001) และเมื่อแยกเป็นรายด้าน ด้านที่มีความแตกต่างกัน ได้แก่ ด้านการมองเห็นเชิงพื้นที่และความสนใจ (p < .001) ด้านการตั้งชื่อ (p = 0.17) และด้านภาษา (p = .041) ส่วนด้านนามธรรมและด้านการทวนความจำ ไม่แตกต่างกัน

สรุปผล: หลังเข้าร่วมการเล่นเกมส์ไพ่โซลิแทร์ ผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยภาวะสมองเสื่อมโดยรวมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้านด้านการมองเห็นเชิงพื้นที่และความสนใจ ด้านการตั้งชื่อและด้านภาษา สูงกว่าก่อนเข้าร่วมการเล่นเกมส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ดังนั้นการเล่นเกมส์ไพ่โซลิแทร์ช่วยให้ระดับภาวะสมองเสื่อมดีขึ้น จึงควรขยายคุณสมบัติ
กลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้นจากช่วงอายุ 60-69 ปี และควรจะทิ้งระยะเวลาในการประเมินหลังจากทดลองอย่างน้อย 2 อาทิตย์

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). 93 วันสู่สังคม"คนชรา" 5 จังหวัด? คนแก่เยอะสุด-น้อยสุด. Retrieved from https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30453

ฐนิษฐา กลีบบัว, & รังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2561). ปัจจัยทำนายความรุนแรงของอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ร่วมกับอาการซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 32(2), 145-159. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/138724/103090

ณัฐศิวัช ชุมฝาง, ทัศนีย์ รวิวรกุล, พัชราพร เกิดมงคล, & สุธรรม นันทมงคลชัย. (2564). ผลของโปรแกรมป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารเกื้อการุณย์, 28(2), 7-21. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/240317

นิธิตา ปิยอมรพันธุ์, เพ็ญนภา ชลปฐมพิกุลเลิศ, วรางคณา ราชชํารอง, & ชาลี ศรีประจันทร์. (2560). มวลกระดูก มวลกล้ามเนื้อ และระดับอาการสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช. Area Based Development Research Journal, 9(6), 471-481. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/110832

สถาบันประสาท กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). คู่มือการจัดกิจกรรม Brain Training สำหรับผู้นำกิจกรรม. นนทบุรี: บริษัท สินทวีการพิมพ์ จำกัด.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. (2559). สมองเสื่อมคืออะไร. นนทบุรี: บริษัท สินทวีการพิมพ์ จำกัด.

Alexopoulos, G.S. (2005). Depression in the elderly. The Lancet, 365(9475), 1961-1970. Retrieved from https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140673605666652/fulltext

Allan, L. M., Ballard, C. G., Rowan, E. N., & Kenny, R. A. (2009). Incidence and prediction of falls in dementia: a prospective study in older people. PLoS One, 4(5), e5521. doi:10.1371/journal.pone.0005521

Ball, K., Berch, D. B., Helmers, K. F., Jobe, J. B., Leveck, M. D., Marsiske, M., ... & Willis, S. L. (2019). Effects of cognitive training interventions with older adults: A randomized controlled trial. Journal of the American Medical Association, 288(18), 2271-2281. https://doi.org/10.1001/jama.288.18.2271

Bubu, O. M., Brannick, M., Mortimer, J., Umasabor-Bubu, O., Sebastião, Y. V., Wen, Y., ... & Yoon, I. Y. (2017). Sleep, cognitive impairment, and Alzheimer’s disease: A systematic review and meta-analysis. Sleep, 40(1), zsw032. https://doi.org/10.1093/sleep/zsw032

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A. and Lang, A.G. (2009) Statistical Power Analyses Using G*Power 3.1: Tests for Correlation and Regression Analyses. Behavior Research Methods, 41, 1149-1160. http://dx.doi.org/10.3758/BRM.41.4.1149

Gielis, K., Brito, F., Tournoy, J., & Abeele, V. V. (2017). Can Card Games Be Used to Assess Mild Cognitive Impairment? A Study of Klondike Solitaire and Cognitive Functions. Paper presented at the Extended Abstracts Publication of the Annual Symposium on Computer-Human Interaction in Play, Amsterdam, The Netherlands. https://doi.org/10.1145/3130859.3131328

Licher, S., Ahmad, S., Karamujić-Čomić, H., Voortman, T., Leening, M. J. G., & Ikram, M. A. (2019). Genetic predisposition, modifiable-risk-factor profile and long-term dementia risk in the general population. Nature Medicine, 25(9), 1364-1369. https://doi.org/10.1038/s41591-019-0547-7

Livingston, G., Huntley, J., Sommerlad, A., Ames, D., Ballard, C., Banerjee, S., ... & Mukadam, N. (2020). Dementia prevention, intervention, and care: 2020 report of the Lancet Commission. The Lancet, 396(10248), 413-446. https://doi.org/10.1016/S0140-6736(20)30367-6

McCallum, S., & Boletsis, C. (2013). Dementia Games: A Literature Review of Dementia-Related Serious Games. Berlin, Heidelberg.

Scarmeas, N., Anastasiou, C. A., & Yannakoulia, M. (2018). Nutrition and prevention of cognitive impairment. The Lancet Neurology, 17(11), 1006-1015. https://doi.org/10.1016/S1474-4422(18)30338-7

United Nations. (2020). Ageing. Retrieved from https://www.un.org/en/global-issues/ageing

World Health Organization. (2022). Healthy ageing and functional ability. Retrieved from https://www.who.int/news-room/questions-and-answers/item/healthy-ageing-and-functional-ability

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-27

How to Cite

กัณโสภา ป. ., แก้ววิเศษ ย. ., สีทิศ พ. ., เดิมทำรัมย์ ส. ., & แสนโกษา ร. . (2025). ผลของการเล่นเกมส์ไพ่โซลิแทร์เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงสมองเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสีนวล อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 357–370. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281374

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ