การสร้างแบบทดสอบทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอล สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281106คำสำคัญ:
ทักษะพื้นฐาน, ฟุตซอล, แบบทดสอบทักษะบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ทักษะพื้นฐานด้านฟุตซอลมีความสำคัญเนื่องจากเป็นพื้นฐานสำหรับการเล่นที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาความสามารถของผู้เล่นในการควบคุมลูกบอล การตัดสินใจที่รวดเร็ว และการเล่นในสถานการณ์กดดันสูง การเชี่ยวชาญทักษะเหล่านี้จำเป็นต่อความสำเร็จในเกมที่เน้นความรวดเร็วและกลยุทธ์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบทดสอบทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอล ที่มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ความเชื่อมั่น (Reliability) และความเป็นปรนัย (Objectivity) และเพื่อสร้างเกณฑ์ปกติ (Norms) ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอล สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาวิชาพลศึกษา จำนวน 52 คน เป็นชาย 43 คน หญิง 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบทดสอบทักษะ 12 รายการ ดังนี้ 1. แบบทดสอบทักษะการเดาะลูกฟุตซอลด้วยหลังเท้า, 2. แบบทดสอบทักษะการเดาะลูกฟุตซอลด้วยเข่า, 3. แบบทดสอบทักษะการเดาะลูกฟุตซอลกระทบผนังระดับต่ำกว่าเอว, 4. แบบทดสอบทักษะการส่งลูกฟุตซอลด้วยข้างเท้าด้านในกระทบผนัง, 5. แบบทดสอบทักษะการส่งลูกฟุตซอลด้วยหลังเท้าสำหรับนักศึกษาชาย (จับคู่), 6. แบบทดสอบทักษะการส่งลูกฟุตซอลด้วยหลังเท้าสำหรับนักศึกษาหญิง (จับคู่), 7. แบบทดสอบทักษะการหยุดและควบคุมลูกฟุตซอลด้วยฝ่าเท้า, 8. แบบทดสอบทักษะการหยุดและควบคุมลูกฟุตซอลด้วยข้างเท้าด้านใน, 9. แบบทดสอบทักษะการเลี้ยงและควบคุมลูกฟุตซอลหลบหลีกสิ่งกีดขวาง, 10. แบบทดสอบทักษะการเลี้ยงและควบคุมลูกฟุตซอลไปด้านหน้าและถอยหลัง, 11. แบบทดสอบทักษะการยิงประตูฟุตซอลด้วยข้างเท้าด้านในขณะลูกฟุตซอลหยุดนิ่งอยู่กับที่, และ 12. แบบทดสอบทักษะการยิงประตูฟุตซอลด้วยหลังเท้าขณะลูกฟุตซอลกำลังเคลื่อนที่ โดยสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ ด้านความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน, ด้านความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้วิธีการทดสอบซ้ำ (Test-retest) และหาคุณภาพของเครื่องมือด้านความเป็นปรนัย (Objectivity) ของเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 2 ท่าน ให้คะแนนผู้เข้ารับการทดสอบ และสร้างเกณฑ์ปกติ (Norms) โดยใช้คะแนนทีปกติ (T-score)
ผลการวิจัย: พบว่า แบบทดสอบทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอล สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ทั้ง 12 รายการ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) มีความเชื่อมั่น (Reliability) มีความเป็นปรนัย (Objectivity) อยู่ในเกณฑ์ดีมาก และมีเกณฑ์ปกติ (Norms) 5 ระดับ ประกอบด้วย ทักษะดีมาก ทักษะดี ทักษะปานกลาง ทักษะต่ำ และทักษะต่ำมาก
สรุปผล: ผลการศึกษาพบว่าแบบทดสอบทักษะพื้นฐานด้านฟุตซอล 12 ชุด สำหรับนักศึกษาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเป็นกลาง โดยมีเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดแบ่งทักษะของนักศึกษาออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ดีมากไปจนถึงต่ำมาก ผลการศึกษานี้ทำให้มั่นใจได้ว่าทักษะฟุตซอลของนักศึกษาได้รับการประเมินและเปรียบเทียบอย่างถูกต้อง
References
ณัฐนนท์ ใจแก้ว, วิชาญ มะวิญธร และกรรวี บุญชัย. (2564). การสร้างเกณฑ์การประเมินทักษะกีฬาฟุตซอลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ. 47 (2), 327-339.
เทเวศร์ พิริยะพฤนท์. (2545). การวิจัยทางพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
ประพันธ์ เปรมศรี และไมตรี กุลบุตร (2548). ประวัติและการตัดสินกีฬาฟุตซอล. กรุงเทพมหานคร: คณะพลศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ผาณิต บิลมาศ. (2530). การทดสอบและการประเมินผลพลศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิชิต ภูติจันทร์. (2547). การทดสอบและการประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ภัทรา นิคมานนท์. (2532). การประเมินผลการสร้างแบบทดสอบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อักษรทิพย์.
วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2539). การสอนพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิวพร สุนทรวิภาต และ จุฑามาศ สิงห์ชัยนรา. (2566). การพัฒนาแบบทดสอบทักษะการวิ่งระยะ 800 เมตร เชิงปริมาณและคุณภาพสำหรับนิสิต ปริญญาตรีสาขาวิชาพลศึกษา. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ. 49 (1), 312-324.
อนงค์ รักษ์วงศ์. (2565). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเปตองสาหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี. 3(1), 90-100.
อภิชาติ ดีไม่น้อย, สมชาย เศรษฐจำนง, ศาสตราวิทย์ วงศ์บุตรลีวัฒนา, สิวะโรจ วรรณจันทร์, จิรวัฒน์ เย็นใส, มนตรี เตียนพลกรัง และณพงษ์ ร่มแก้ว. (2566). การสร้างแบบทดสอบทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 20 (2), 161-172.
Johnson, B.L., & Nelson, J.K. (1974). Basics Concepts in Test and Evaluation : Practice Measurement for Evaluation in Physical Education. Minnesota : Burgess Publishing.
Kirkendall, D.R., Gruber, J.J., & Johnson, R.E. (1987). Measurement and Evaluation for Physical Education. Illinois: Human Kineties Publisher.
Willgoose, C. E. (1961). Evaluation in Health Education and Physical Education. New York : McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ