กลยุทธ์การแปลข้ามวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในละครซีรี่ส์วายย้อนยุค: กรณีศึกษาเรื่อง หอมกลิ่นความรัก

ผู้แต่ง

  • นฤมล สเนลโกรฟ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://orcid.org/0009-0000-3811-4685

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280890

คำสำคัญ:

การแปลคำทางวัฒนธรรม, กลยุทธ์การแปล, การแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้ศึกษารูปแบบการใช้กลยุทธ์การแปลข้ามวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในละครซีรี่วายย้อนยุค (Period) เรื่อง “หอมกลิ่นความรัก” (2566) ซึ่งเป็นละครซีรี่ที่สะท้อนความรักระหว่างชายรักชายที่มีความนิยมทั้งในหมู่ผู้ชมในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีการใช้คำวัฒนธรรมในอดีตผ่านบทพูดของตัวละคร ดังนั้น การแปลจึงมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความหมายเพื่อให้เกิดความเข้าใจ คำวัฒนธรรมของไทยในบริบทต่างๆได้อย่างถูกต้อง

ระเบียบวิธีการวิจัย: ผู้วิจัยรวบรวมคำวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในบทสนทนาระหว่างตัวละครต่างๆในเรื่อง จากนั้นวิเคราะห์ด้วยวิธีการจัดกลุ่มคำวัฒนธรรม 5 ประเภทตามกรอบแนวคิดที่เสนอโดย Nida (1964) และทฤษฎี การแปลคำทางวัฒนธรรม 8 กลวิธีที่เสนอโดย Newmark (1995) รวมถึงการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่าผู้แปลมีการใช้คำวัฒนธรรมทางสังคมมากที่สุด (35.13%) การใช้คำวัฒนธรรมทางภาษา (32.44%) การใช้คำทางวัตถุ (21.62%) การใช้คำทางวัฒนธรรมทางศาสนา มีความถี่ในการใช้จำนวน (8.10%) และการใช้คำทางวัฒนธรรมทางนิเวศน้อยที่สุด (2.71%) จากนั้นนำคำทางวัฒนธรรมมาวิเคราะห์การใช้กลวิธีการแปล ผลการศึกษาพบว่าผู้แปลมี การใช้กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมทั้งสิ้น 6 กลวิธี จาก 8 วิธี โดยกลวิธีการใช้การแปลมากที่สุดโดยการแทนที่ด้วยสิ่งที่มีในวัฒนธรรมปลายทาง (35.13%) การใช้กลวิธีการแปลโดยการใช้คำยืม (21.62%) กลวิธีการแปลตรงตัว (13.51%) กลวิธีการแปลโดยการใช้คำที่มีความหมายกว้างกว่าต้นฉบับมีความถี่เท่ากับกลวิธีการแปลโดยการอธิบายความ (10.82%) จากนั้นการใช้กลวิธีการแปลโดยการละ (8.10%) และไม่พบการใช้กลวิธีการแปลโดยใช้คำที่มีความหมายเป็นกลางและกลวิธีการแปลโดยใช้คำบัญญัติ

สรุปผล: งานวิจัยนี้สามารถนำไปปรับใช้ในการแปลคำทางวัฒนธรรมในบริบทอื่นๆและวิจัยต่อเนื่องโดยทำแบบทดสอบความเข้าใจกลวิธีการแปลให้แก่นักศึกษาได้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของผู้แปลในด้านการถ่ายทอดความหมายได้

References

กฤชณัท แสนทวี. (2565). ภาพตัวแทนความรักของชานรักชายในละครซีรี่ส์วายไทย. วารสารการสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 10 (2), 221-250.

คหบดี กัลป์จาฤก. (2565). ละครกับซีรี่ส์ต่างกันอย่างไร. Retrieved on April 19, 2024 from: https://www.youtube.com/watch?v=1bu9VGxpkJw

จุฑารัตน์ พันม่วง. (2563). กลวิธีการแปลคำศัพท์ทางวัฒนธรรมภาษาไทยเป็นภาษาเวียดนาม: กรณีศึกษาการแปลคำศัพท์ วัฒนธรรมทางวัตถุในละครโทรทัศน์เรื่องบุพเพสันนิวาส. บทความวิจัยอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิพย์ภาศิริ แก้วเทศ. (2561). การเปลี่ยนผ่านละครโทรทัศน์ไทยจากยุคแอนะล็อกสู่ยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธงทอง จันทุรางศุ. (2564). อักขรานุกรมขุนนาง. Retrieved on June 19, 2024 from: https://www.matichonweekly.com/column/article_414377

ธีรนันท์ ช่วงพิชิตม. (2544). ตามรอยสำรับแขกคลองบางหลวง. สารคดี. 17 (194), 145-149.

พรรณี ภาระโภชน์. (2555). การแปลคำศัพท์ทางวัฒนธรรมในนวนิยายเรื่อง Memoirs of a Geisha. วารสารภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล, 31 (1),4-17.

พีรญา สวนปาน. (2565). จับตา หอมกลิ่นความรัก ซีรีส์วายพีเรียดเรื่องแรกของประเทศไทย และการเปิดประตูสู่จักรวาลซีรีส์วายของ นนกุล. Retrieved on April 19, 2024 from: https://thestandard.co/boy-love-lovely-room/

มิรันตี รุจิวณิชย์กุล. (2566). I Feel ‘Them’ Linger in the Air มองความไม่เท่าเทียมในสังคมไทยผ่านละคร ‘หอมกลิ่นความรัก’. Retrieved on June 19, 2024, from: https://urbancreature.co/i-feel-them-linger-in-the-air/

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์,

วรรณา แสงอร่ามเรือง. (2542). ทฤษฎีและหลักการแปล. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราพัชร ชาลีกุล. (2560). กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาเรื่อง เรื่องของจัน ดารา แต่งโดย อุษณา เพลิงธรรม. สารนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัชรพงษ์ แจ้งประจักษ์. (2566). กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาหนังสือเรื่อง “ช่างสำราญ”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 10 (6), 4-8.

ศศิ เอาทารยกุล. (2557). การศึกษาการแปลข้ามวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในบทบรรยายใต้ภาพของภาพยนตร์ไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สตรีรัตน์ ไกรอ่อน. (2556). กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในนวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปกร.

อธิศา งามศรี (2560). กลวิธีการแปลคำและวลีทางวัฒนธรรมที่พบในบทแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษาหนังสือเรื่อง "ครูบ้านนอก" โดย คำหมาน คนไค. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อธิศา งามศรี. (2560). กลวิธีการแปลความและวลีทางวัฒนธรรมที่พบในบทแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาหนังสือเรื่อง “ครูบ้านนอก” โดย คำหมาน คนไค. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Hymes, D. (1964). Language in Culture and Society: A Reader in Linguistics and Anthropology. New York: Harper & Row.

Newmark, P. (1995). A textbook of translation. New York: Phoenix ELT.

Nida, E. (1964). Toward a Science of Translating. The Netherlands: Leiden, I.J.Brill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-22

How to Cite

สเนลโกรฟ น. . (2025). กลยุทธ์การแปลข้ามวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในละครซีรี่ส์วายย้อนยุค: กรณีศึกษาเรื่อง หอมกลิ่นความรัก . Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 123–136. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280890

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ