ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280797

คำสำคัญ:

ทักษะของผู้บริหาร, องค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร, สมุทรสงคราม

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาทักษะของผู้บริหารส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับทักษะของผู้บริหาร 2) ระดับองค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษา และ 3) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 285 คน จากประชากร 1,086 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.994 (a= 0.994) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณขั้นตอน

ผลการวิจัย: 1) ระดับทักษะของผู้บริหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงครามโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ระดับองค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงครามโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 3) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงครามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (R2 = 0.620)

สรุปผล: ตัวแปรที่มีอิทธิพลในการทำนายตามลำดับจากมากที่สุด ได้แก่ ด้านทักษะทางการศึกษาและการสอน (X3) ด้านทักษะความคิดรวบยอด(X5) ด้านทักษะทางความรู้ความคิด(X1) และด้านทักษะทางเทคนิค (X2) สามารถพยากรณ์องค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงครามได้ร้อยละ 62.00

References

จันทร์ทร ปานคล้ำ. (2559). การปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(2),527 - 539.

ชรินทร์ จันทโร และ มัทนา วังถนอมศักดิ์.(2563). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6 (2), 86-96.

เด่นชัย อาทิตย์เจริญชัย.(2558) องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนศรีบุณยานนท์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุณยวรีย์ เศวตวงศ์สกุล. (2557). และคณะ ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542, ed. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก (19 สิงหาคม 2542).

วริศรา บุญธรรม.(2560) การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัด ระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2552).รายงานประจำปี 2552 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด

อรพรรณ ขันแก้ว. (2565). ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของศูนย์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในเขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร

อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล. (2559). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Burton, J. (2010) .WHO Healthy Workplace Framework and Model: Background and Supporting Literature and Practice : Word Health Organization. Retrieved January 20, 2012, form www.who.int/occupational_ health/healthy_workplace_framework.pdf

Drake, T. L., & Roe, W. H. (1996). The principalship. New York: Macmillan.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Martin, A. J., Jones, E. S., & Callan, V. J. (2005). The role of psychological climate in facilitating employee adjustment during organizational change. European Journal of Work and Organizational Psychology, 14(3), 263–289. https://doi.org/10.1080/13594320500141228

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-12

How to Cite

สุขภูวงค์ ม. ., กู้ประเสริฐ น. ., & อินทรสมพันธ์ ว. . (2025). ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 807–818. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280797