แนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280751

คำสำคัญ:

แนวทาง, การพัฒนา, สมรรถนะดิจิทัลของครู, สถานศึกษาอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: สมรรถนะดิจิทัลของครูเป็นเรื่องที่สำคัญในยุคปัจจุบัน ทั้งใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการการทำงานเพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสอดคล้องกับการพัฒนาชาติตามแนวทางนโยบายการจัดการศึกษา การค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี และ 3) เพื่อจัดทำและตรวจสอบแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่

ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ศึกษาได้แบ่งวิธีการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ โดยการใช้แบบสอบถามกับผู้บริหาร คณะครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี โดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) โดยประเด็นการสัมภาษณ์ เป็นผลที่ได้จากการศึกษาในระยะที่ 1 สร้างแบบสัมภาษณ์แล้วนำไปสัมภาษณ์ ผู้บริหาร ครู ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี 3 สถานศึกษา สถานศึกษาละ 3 คน รวม 9 คน ระยะที่ 3 การจัดทำและตรวจสอบแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งการดำเนินการในระยะนี้ ออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การจัดทำแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ โดยประยุกต์ใช้ตามองค์ประกอบของแนวทาง ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการพัฒนา 4) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน หัวหน้าแผนกวิชาหรือครู จำนวน 2 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน รวม 7 คน ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ แบบตรวจสอบ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ของแนวทาง โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบ จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน หัวหน้างานบุคลากร 2 คน หัวหน้าแผนกวิชาหรือครู 3 คน รวม 7 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: 1) การพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อันดับแรก คือ การรายงานผลการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู สภาพที่พึ่งประสงค์ โดยรวม อยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อันดับแรก คือ การปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI) โดยรวมมีค่าเท่ากับ 0.39 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อันดับแรก คือ การดำเนินการติดตามประเมินผลสมรรถนะดิจิทัลของครู 2) การศึกษาความต้องการจำเป็นและศักยภาพสมรรถนะดิจิทัลของครู ต้องมีการดำเนินการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยใช้เครื่องมือที่มีความหลากหลายรูปแบบในการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลที่เหมาะสมและเพื่อการวาง สถานศึกษามีการจัดทำแผนการโครงการ แต่งตั้งคำสั่งคณะกรรมการเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เพื่อให้คำปรึกษาในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและแก้ปัญหาทางการทำงาน การดำเนินการติดตามประเมินผลสมรรถนะดิจิทัลของครูมีการกำหนดกระบวนการติดตาม มอบหน้าหน้าที่อย่างชัดเจน และประเมินผลที่เป็นระบบและเป็นประจำอย่างต่อเนื่องด้วยการประเมินจากทุกภาคส่วน การปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูด้วยการวิเคราะห์จุดเด่น จุดที่ต้องพัฒนาของครูเพื่อการพัฒนาครูตรงตามศักยภาพและความสามารถและมีแผนสำรองในการแก้ไขปัญหาการรายงานผลการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู ต้องมีการจัดทำรายงานในทุกภาคเรียนให้ผู้เกี่ยวข้องทราบด้วยการนำเสนอผลการพัฒนาทั้งในรูปแบบของการบรรยายและการประเมินเชิงปริมาณ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการพัฒนา แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ มีผลการตรวจสอบ ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ทุกด้าน

สรุปผล: ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ คือการดำเนินการติดตามประเมินผลสมรรถนะดิจิทัลของครู อาจเนื่องมาจากสถานศึกษามีการดำเนินการและติดตามการพัฒนาสมรรถนะครูยังไม่เพียงพอ และมีการประเมินผลความก้าวหน้าตลอดจนการนิเทศติดตามครู ตามแผนการของสถานศึกษาที่ไม่ต่อเนื่องและเป็นปัจจุบันทันต่อการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงดิจิทัล แนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่มีผลการตรวจสอบด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นได้ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากแนวทางฯ มีความตรงกับวัตถุประสงค์ หลักการของทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูครอบคลุม ตามองค์ประกอบของแนวทางสามารถนำแนวทางปรับใช้ในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา

References

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2561). ระเบียบวิธีวิจัย RESEARCH METHODOLOGY. เชียงใหม่: Kiatsudajgmailcom

ณัฐพล ปิ่นทองและคณะ. (2562). การสังเคราะห์องค์ประกอบและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครู ในยุคการศึกษา 4.0. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (การศึกษา) .เชียงใหม่.การบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บัญชาลักษณ์ ลือสวัสดิ์ จอมพงศ์ มงคลวนิช และ ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2565). รูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาด้านสมรรถนะดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 19 (1), 106-141.

ภัทราพร เยาวรัตน์. (2565). การศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูใน สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Assessment Report: SAR) ปีการศึกษา 2563. เชียงใหม่. ฝ่ายแผนงานและนโยบาย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563 – 2565. Retrieved from: https://www.moe.go.th.

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ (2564). รายงานการนิเทศติดตามโครงการดิจิทัลการเรียนการสอนของสถานศึกษาในอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2564. เชียงใหม่ : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). รายงานประจำปี 2563 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.กรุเทพฯ : แผนกวิชาการพิมพ์ วิทยาลัยเทคนิคมินบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและ บุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. Retrieved from: https://www.ocsc.go.th/

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). กรอบสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับพลเมืองไทย. กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค

สุกิจ อัครมหาเสนาวงศ์. (2565). แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. Journal of Modern Learning Development.

แสงเพ็ชร แสงจันทร์. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงราย.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

European Commission. (2004). Key competences for lifelong learning: A European reference framework directorate-general for education and culture. Retrieved from https://op.europa.eu/en/publication-detail/-/publication/5719a044-b659-46de-b58b-606bc5b084c1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-11

How to Cite

ธิหล้า ม., ยะบุญธง ย. ., & ทองงอก ธ. . (2025). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 611–628. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280751