การพัฒนากฎหมายและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรมการผลิตภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280746

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการจัดการ, อุตสาหกรรม 4.0, นโยบายประเทศไทย 4.0, อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, เทคโนโลยีและดิจิทัล

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนากฎหมายและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรมการผลิตภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดทางกฎหมายและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรมการผลิตภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 2) เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี นโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากฎหมายและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรมการผลิตภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางการพัฒนากฎหมายและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรมการผลิตภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 4) เพื่อนำไปสู่การพัฒนากฎหมายและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรมการผลิตภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0

ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเชิงบูรณาการ 3 ศาสตร์ คือนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และการบริหาร ด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและทุตติยภูมิ ได้แก่ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง นโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติด้านสิ่งแวดล้อม แผนแม่บทด้านสิ่งแวดล้อม กฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย รวมถึงการเก็บข้อมูลจากการวิจัยภาคสนาม ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 คน การสนทนากลุ่มเจาะจง จำนวน 25 คน และการรับฟังความคิดเห็น จำนวน 50 คน ด้วยวิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้มีส่วนได้เสีย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา: จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยมีปัญหาการขาดองค์ความรู้และการสนับสนุนด้านนวัตกรรม จึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง 2) แนวคิดและทฤษฎี ได้แก่ หลักธรรมาภิบาล หลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แนวคิดการพัฒนาแบบองค์รวมตาม BCG Model แนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 แนวคิดการบริหารจัดการ ทฤษฎีเศรษฐกิจแบบเส้นตรงทฤษฎีเศรษฐกิจหมุนเวียน ทฤษฎีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและทฤษฎีด้านนวัตกรรม แนวคิดและทฤษฎีที่กล่าวมาผู้วิจัยได้มากำหนดแนวทางการพัฒนากฎหมายและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรมการผลิตภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 รวมทั้งผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมที่งานวิจัยนี้ทำการศึกษา ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐเกาหลีและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติและกฎหมายที่ใช้ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 ไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ส่งผลให้ประเทศกลุ่มนี้มีกลไกทางกฎหมายและนโยบายสำหรับการจัดการอุตสาหกรรมการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแนวทางของการปฎิวัติอุตสาหกรรม 4.0 4) ประเทศไทยต้องปรับตัวตามกระแสของโลกเทคโนโลยีและดิจิทัล ด้วยการกำหนดทิศทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมตามนโยบาย ประเทศไทย 4.0 ด้วยแผนการพัฒนาสนับสนุนด้านการเงิน ความรู้ เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งการพัฒนาด้านบุคคลากรที่เกี่ยวข้องโดยปรับทักษะและเพิ่มทักษะ เพื่อสามารถปฏิบัติควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลครบวงจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5) เสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 และกฎกระทรวงที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 นอกจากนั้น ได้เสนอนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ (1) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสมัยใหม่ (2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (2) ยุทธศาสตร์การสนับสนุนจากภาครัฐ (3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถด้านวิจัย (5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สรุปผล: เสนอให้มีปรับแก้แก้ไขพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 หมวดที่ 1 มาตรา 6 และมาตรา 8 และกำหนดแนวทางการพัฒนานวัตกรรมบริหารจัดการอุตสาหกรรมการผลิตภายใต้นโยบาย ประเทศไทย 4.0 ทั้งหมด 5 ยุทธศาสตร์

References

กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, (2567). โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. Retrieved on June 28, 2024 from: https://www3.rdi.ku.ac.th/wp-

กระทรวงอุตสาหกรรม, (2567). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). Retrieved on April 17, 2024 from: http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ, (2566). ลักษณะสำคัญของนวัตกรรม (Innovation). Retrieved on October 26, 2023 from: https://www.iok2u.com/article/innovation/innovation-001-characteristics

คมกฤช จันทร์ขจร. (2560). ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาทางไกลในยุคประเทศไทย 4.0 ของสถาบันการศึกษาทางไกลสำนักงาน กศน. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ณัฐรัตน์ สุขใย. (2562). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การยอมรับเทคโนโลยี และวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สังกัดกลุ่มเครือข่ายภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2561). การพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืน (Sustainable Business Development). กรุงเทพฯ: CMS Digital Print.

พฤทธิ์ เทศจีบ. (2566). การสร้างความยั่งยืนทางดิจิทัลในธุรกิจด้วยสถานที่ทำงานดิจิทัล. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7, ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx, 6 มิถุนายน 2566, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

พัชร์นรี ธนาคุณ. (2561). ระบบคัดเลือกกลุ่มธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สหสาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-11

How to Cite

เศวตศุทธิสรร ส. ., & กีรติภูมิธรรม จ. . (2025). การพัฒนากฎหมายและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรมการผลิตภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 . Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 769–780. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280746