ปัญหาทางกฎหมายในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างยั่งยืน
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280743คำสำคัญ:
ปัญหาทางกฎหมาย, , ป่าชุมชน, , การฟื้นฟู, , การจัดการบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: บทความวิชาการเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างยั่งยืน 3) เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและวิธีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างยั่งยืน
ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และนำเสนอตามวัตถุประสงค์ทางการศึกษา
ผลการศึกษา: จากผลการศึกษาพบว่า 1) ป่าชุมชนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ รวมถึงการลดอุณหภูมิของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งป่าไม้นั้นนอกจากจะมีความสำคัญต่อการลดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นอย่างแนบแน่น ปัญหาสำคัญในทางกฎหมายที่จะต้องมีการพัฒนาสิทธิในสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ได้แก่ สิทธิในการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม ไม่สอดคล้องกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ รวมไปถึงปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ 2) สิทธิชุมชนท้องถิ่นหรือสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม มีความสำคัญต่อการรักษาและฟื้นฟูป่าชุมชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมเป็นกลุ่มบุคคลที่ดำรงชีวิตและใกล้ชิดกับป่าชุมชน แต่รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทกลับยกเลิกเพิกถอนสิทธิดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อการฟื้นฟูและรักษาป่าชุมชน และปัญหาของการมีส่วนรวมของชุมชนท้องถิ่นการฟื้นฟูและรักษาป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 คือ ยังขาดกลไกตามหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง พร้อมทั้งยังไม่มีการกำหนดบทบาทขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อการฟื้นฟูและรักษาป่าชุมชนที่ชัดเจน 3) ปรับแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ในหมวดสิทธิขั้นพื้นฐานเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 66 และแก้ไขพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 โดย แก้ไขมาตรา 3 วัตถุประสงค์ของป่าชุมชน แก้ไขมาตรา 4 ความหมาย “ป่าชุมชน” แก้ไขมาตรา 4 ความหมาย “ชุมชน” เพิ่มเป็น “ชุมชนท้องถิ่น” แก้ไขมาตรา 6 เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม แก้ไข มาตรา 9 “คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน” แก้ไข มาตรา 23 “คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัด” และมีการกำหนดวิธีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างยั่งยืน ในเรื่องบทบาทและหน้าที่ของชุมชน บทบาทและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บทบาทและหน้าที่ของหน่วยรัฐที่เกี่ยวข้อง การใช้กลไกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น การใช้กลไกการเข้าร่วมโครงการคาร์บอนเครดิต การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากผลผลิตของป่าชุมชนและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
สรุปผล: การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและวิธีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างยั่งยืนมี 2 ส่วน คือ 1) การปรับแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญหมวดสิทธิขั้นพื้นฐานเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 66 2) พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 มาตรา 3 มาตรา 4 มาตรา 9 และมาตรา 23 พร้อมทั้งกำหนดวิธีการในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนใน 8 ประการ
References
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, (2566). สิ่งแวดล้อมในชุมชน. Retrieved on August 5, 2023, https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi5/chum/chum.htm
กระทรวงพลังงาน, (2567). พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol). Retrieved on May 12, 2024, https://www.eppo.go.th/index.php/th/plan-policy/climatechange/unitednation/kyotocol-protocol.
ก้องเกียรติ เต็มตำนาน. (2565). รูปแบบการจัดการป่าชุมชนโดยการมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จังหวัดมหาสารคาม. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). รายงานการศึกษาเรื่องการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
จุฬาพัฒน์ กีรติภูมิธรรม, (2561). กรอบกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของธรรมชาติหรือสิทธิของแม่ธรณี. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีประทุม.
ธานี เนื่องจำนง, (2562). รูปแบบองค์กรประชาท้องถิ่นเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
นฤมล ขุนวีช่วย และมานะ ขุนวีช่วย, (2562). ทุนทางสังคมในการจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าพรุควนเคร็ง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11 (2), 62–71.
พระราชบัญญัติป่าชุมชน, (2562). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 136 ตอนที่ 71 ก. (24 พ.ค. 2562). หน้า 71
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, (2560). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. (6 เมษายน 2560). หน้า 20
Rio Declaration on the Environment and Development. (1992). THE RIO DECLARATION ON ENVIRONMENT AND DEVELOPMENT. The Declaration of the United Nations Conference on the Human Environment, adopted at Stockholm on 16 June 1972. https://www.iau-hesd.net/sites/default/files/documents/rio_e.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ