การพัฒนากฎหมายและรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และบทบาทขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อการฟื้นฟูและรักษาป่าชุมชน

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280742

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ป่าชุมชน, ชุมชนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนากฎหมายและรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และบทบาทขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อการฟื้นฟูและรักษาป่าชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดของการพัฒนากฎหมายและรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และบทบาทขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อการฟื้นฟูและรักษาป่าชุมชน 2) เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิด และนโยบายแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากฎหมายและรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และบทบาทขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อการฟื้นฟูและรักษาป่าชุมชน 3) เพื่อศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายป่าชุมชนต่างประเทศ  กฎหมายป่าชุมชนในประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทาง การพัฒนากฎหมายและรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และบทบาทขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อการฟื้นฟูและรักษาป่าชุมชน 5) เพื่อจัดทำการพัฒนากฎหมายและรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และบทบาทขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อการฟื้นฟูและรักษาป่าชุมชน

ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเชิงบูรณาการ 3 ศาสตร์ คือนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และการบริหาร ด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ และทุตติยภูมิ ได้แก่ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง นโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติด้านสิ่งแวดล้อม แผนแม่บทด้านสิ่งแวดล้อม กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม กฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย รวมถึงการเก็บข้อมูลจากการวิจัยภาคสนาม ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 20 คน และการสนทนากลุ่มเจาะจง จำนวน 35 คน โด้ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้มีส่วนได้เสีย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา: จากผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดการป่าชุมชนของประเทศไทยยังปัญหาทางกฎหมายได้แก่ การขาดกลไกตามหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง และยังไม่มีการกำหนดบทบาทขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเพื่อการฟื้นฟูและรักษาป่าชุมชนที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ 2) การศึกษาวิจัยนี้ให้ความสำคัญกับและหลักการกระจายอำนาจ ด้วยการกำหนดบทบาทของการปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์การปกครองที่มีความใกล้ชิดกับป่าชุมชนให้มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน 3) จากการศึกษาการจัดการป่าชุมชนของต่างประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหพันสาธารณรัฐบราซิล ราชอาณาจักรภูฏาน โดยที่ทั้ง 3 ประเทศให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการใช้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการจัดการป่าชุมชน 4) นำข้อมูลจากระเบียบวิธีวิจัยทั้งหมดมาวิเคราะห์กำหนดเป็นแนวทางการพัฒนากฎหมายและรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการฟื้นฟูและรักษาป่าชุมชน โดยการเปรียบเทียบกฎหมายและแนวนโยบายในการจัดการฟื้นฟูป่าชุมชนของต่างประเทศประกอบกับการนำหลักการและแนวคิดมาวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการรักษาป่าชุมชนและการใช้ประโยชน์ที่สร้างสรรค์โดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติของป่าชุมชน 5) แนวทางการพัฒนากฎหมาย ด้วยการเสนอให้มีการรับรองสิทธิชุมชนท้องถิ่นไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ได้แก่ การรับรองสิทธิชุมชนท้องถิ่น การแก้ไขนิยามความหมายของป่าชุมชน แก้ไขวัตถุประสงค์ของการจัดการป่าชุมชน และบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจและหลักการจัดการป่าชุมชนที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ได้เสนอรูปแบบในการจัดการป่าชุมชนเพื่อใช้เป็นรูปแบบเชิงบูรณาการควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ (1) การกำหนดบทบาทและหน้าที่ของชุมชน (2) การกำหนดบทบาทและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) บทบาทและหน้าที่ของหน่วยรัฐที่เกี่ยวข้อง (4) การใช้กลไกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น (5) การใช้กลไกการเข้าร่วมโครงการคาร์บอนเครดิต (6) การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน (7) การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากผลผลิตของป่าชุมชน  (8) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สรุปผล: วิจัยนี้ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ เสนอให้นำรูปแบบในการจัดการป่าชุมชน 8 ประการ ไปใช้ในการจัดการป่าชุมชนของไทย สำหรับข้อเสนอแนะหัวข้อวิจัยครั้งต่อไป คือ รูปแบบการพัฒนาระบบกลไกการส่งเสริมการท่องเที่ยวป่าชุมชนเชิงนิเวศ

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2566). สิ่งแวดล้อมในชุมชน. Retrieved on August 5, 2023 from: https:// web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi5/chum/chum.htm

จุมพต สายสุนทร. (2546). กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : โครงการตําราและวารสารคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุฬาพัฒน์ กีรติภูมิธรรม. (2561). กรอบกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของธรรมชาติหรือสิทธิของแม่ธรณี. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีประทุม.

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 116 ตอนที่ 114 ก, (17 พฤศจิกายน 2542). หน้า 53.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. (6 เมษายน 2560). หน้า 20

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.2562. ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 136 ตอนที่ 71 ก. (24 พ.ค. 2562). หน้า 71

สมหญิง สุนทรวงษ์และคณะ. (2566). ป่าชุมชนกับสังคมไทย. Retrieved July 10, 2023 from: https: www. recoftc.org/Thailand/stories

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

World Commission on Environment and Development. (2023). International Civil Aviation Organization. Retrieved 12 August 2023 from, https://www.icao. int/ENVIRONMENTALPROTEC TION/Pages/CAEP.aspx.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-11

How to Cite

แสนเทพ ณ. ., & กีรติภูมิธรรม จ. . (2025). การพัฒนากฎหมายและรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และบทบาทขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อการฟื้นฟูและรักษาป่าชุมชน. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 703–716. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280742