แนวทางการเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 2
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280700คำสำคัญ:
ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ, การสร้างทีมงาน, การสร้างแรงจูงใจ, การมอบอำนาจ, การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: หลังจากการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถาณการณ์ดังกล่าว ซึ่งทำให้ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่หรือ (New Normal) การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตให้มีความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้เกิดความสุขในการปฏิบัติงาน แนวทางการเสริมพลังอำนาจ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 จะส่งผลให้เกิดการดำเนินงานของโรงเรียนบรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 2) เพื่อเสนอแนวทางการเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2
ระเบียบวิธีการวิจัย: โดยเป็นการวิจัยแบบพรรณนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารและครู จำนวน 271 คน กำหนดขนาดตัวอย่างด้วยตารางแครซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอมถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.993 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดอันดับความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอโดยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของ การเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 2 สภาพปัจจุบันของการเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ในภาพรวม โดยค่าเฉลี่ยระดับ อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านที่ต่ำสุด คือ ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ สภาพที่พึงประสงค์ ของการเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 โดยค่าเฉลี่ยระดับสภาพที่พึงประสงค์การเสริมพลังอำนาจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านที่ต่ำสุด คือ ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ความต้องการจำเป็นของการเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ภาพรวมพบว่า ค่า PNI Modified อยู่ระหว่าง 0.287 ถึง 0.355 ด้านความต้องการที่พบว่ามีค่า PNI Modified สูงสุดมีความสำคัญลำดับที่ 1 คือ ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ลำดับที่ 2 คือ การสร้างทีมงาน ลำดับที่ 3 คือ การสร้างแรงจูงใจ ลำดับที่4 คือ การมอบอำนาจ และลำดับที่ 5 คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แนวทางการเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 2 มีแนวทางที่สำคัญดังนี้ ด้านความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ควรส่งเสริมให้ครูมีแผนพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพครู ด้านการสร้างทีมงานควรสร้างทีมงานการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทีมงาน ด้านการสร้างแรงจูงใจ ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริม ให้กำลังใจ โดยการยกย่อง ชื่นชม ยินดี เมื่อประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน และ พิจารณาความดี ความชอบอย่างเป็นธรรม ด้านการมอบอำนาจ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมอบอำนาจความรับผิดชอบในงานและให้อิสระในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากร ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ควรให้ครูมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และร่วมรับผิดชอบผลการปฏิบัติงาน ให้ครูมีส่วนร่วมในการตัดสินแก้ไขปัญหาในถานศึกษาร่วมกัน
สรุปผล: ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงแนวทางการเสริมพลังที่สำคัญสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ข้อเสนอแนะ ได้แก่ การส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมและยอมรับความสำเร็จ การมอบหมายความรับผิดชอบและการให้อิสระ และการให้ครูมีส่วนร่วมในการวางแผนการศึกษาและการแก้ไขปัญหา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ณัฐพงศ์ หล้าวงศา.(2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดวงกมล อนุเอกจิตร. (2560). การเสริมสร้างพลังอำนาจที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดารารัตน์ อ้นถาวร. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
นิลุบล ชูสอน. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของข้าราชการครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ปัทมา กาฬภักดี. (2566). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
พัชรมน คุ้มจินดา. (2560). แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศิลปากร.
ภัทรคุณ บุญดุฉาว. (2564).บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ยุพิน ภูมิช่วง. (2562). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างพลังอำนาจครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัชนีกรนิภา มีมาก. (2561). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในการจัดการค่านิยมหลัก 12 ประการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู. กรุงเทพมหานคร.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 –610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ