หลักธรรมภิบาลเพื่อพัฒนากฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและพนักงานเจ้าหน้าที่

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280626

คำสำคัญ:

หลักธรรมภิบาล, การปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจ, คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องหลักธรรมภิบาลเพื่อพัฒนากฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) แนวคิด หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและพนักงานเจ้าหน้าที่ 2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและพนักงานเจ้าหน้าที่ของต่างประเทศและประเทศไทย 3) วิเคราะห์การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและพนักงานเจ้าหน้าที่ 4) เสนอแนะให้มีการจัดทำกฎหมายว่าด้วยหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและพนักงานเจ้าหน้าที่

ระเบียบวิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด ทั้งนี้ โดยมีการทวนสอบคุณภาพของข้อมูล ด้วยการนำข้อมูลที่สัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มเจาะจง ซึ่งเป็นกระบวนการวิธีการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพวิธีหนึ่งที่ให้กลุ่มประชากรเป้าหมายเป็นกลุ่มเจาะจงที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสีย จากกลุ่มบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจำวน 6 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน 3 คน กลุ่มนักวิชาการ จำนวน 3 คน  กลุ่มนักกฎหมาย จำนวน 3 คน มาระดมความคิดเห็นกับประเด็นวิจัย แล้วให้ประชากรกลุ่มเจาะจงนั้นแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ต่อกันตามประเด็นที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลจนได้ผลการวิจัยตามที่กำหนดในวัตถุประสงค์

ผลการศึกษา: จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) จากการใช้แนวคิด หลักการ และทฤษฎีในการวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักธรรมภิบาลเพื่อพัฒนากฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ว่าพระราชบัญญัติกฎหมายว่าด้วยป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เปิดช่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกระทำการได้หลายประการ ทำให้ยากแก่การกำหนดกรอบบทบาทหน้าที่และอำนาจที่ชัดเจน และนำไปสู่การเปิดช่องให้ใช้ดุลพินิจ ทำให้มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติและละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน 2) การตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพบว่า ไม่มีหลักเกณฑ์ใดที่กำหนดกลไกการควบคุมตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไว้ ประกอบกับการใช้อานาจดังกล่าวไม่มีสถานะเป็นคำสั่งทางปกครองทำให้ไม่สามารถโต้แย้งคัดค้านหรืออุทธรณ์ต่อองค์กรใด รวมทั้งศาลปกครองได้ 3) การตีความและการบังคับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานงานเจ้าหน้าที่ พบว่าถูกใช้เป็นช่องทางในการประวิงคดีแล้วและถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการเข้ามาแทรกแซงการใช้อำนาจ 4) กฎหมายต้นแบบว่าด้วยหลักธรรมภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย (1) คำนิยามศัพท์ (2) หมวด 1 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (3) หมวด 2 พนักงานเจ้าหน้าที่  (4) หมวด 3 บทกำหนดโทษ

สรุปผล: การศึกษาวิจัยนี้ได้พัฒนากฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปโดยความชอบธรรมมากขึ้น

References

ชำนาญ ชาดิษฐ์, สุขสมัย สุทธิบดี, อุดม รัฐอมฤต, อุทัย อาทิเวช. (2564). การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงินของไทย. KASEM BUNDIT JOURNAL, 22(2), 1–12. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/253962

บรรเจิด สิงคเนติ, (2560). หลักความเป็นอิสระและหลักความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ของ กสม.. วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน, 2 (1), 153-182.

พระนัฐทร จนฺทปญโญ (พาลี) และ จักรี ศรีจารุเมธีญาณ, (2564). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 1 (6), 47-56. DOI: https://doi.org/10.14456/iarj.2021.29

พีรพล ไทยทอง, (2560). ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐยุคใหม่ไทยแลนด์ 4.0. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6 (2), 607-616.

ยุทธนา ปราณีต; อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า, บวร ขมชุณศรี, กาญจนา ดำจุติ, ปนัดดา รักษาแก้ว. (2563). อำนาจอธิปไตยกับแนวคิดว่าด้วยเจ้าของอำนาจและการแสดงออกของประชาชน. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9 (2), 304-314.

Jullum, M., et al. (2022). Detecting money laundering transactions with machine learning. Journal of Money Laundering Control, 23, 173–186. doi.org/10.1108/JMLC-07-2019-0055

Tromme, M., et al. (2020). Enrique Pen˜a Nieto’s National Anti-Corruption Commission and the Challenges of Waging War against Corruption in Mexico. International Relations and Diplomacy. 8, 566-567.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-12

How to Cite

คำกิ่ง น. ., & เสาวคนธ์ ศ. . (2025). หลักธรรมภิบาลเพื่อพัฒนากฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและพนักงานเจ้าหน้าที่ . Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 971–982. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280626