การจัดการองค์การและวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280184คำสำคัญ:
การจัดการองค์การและวัฒนธรรมองค์การ, ประสิทธิผลขององค์การ, องค์การบริหารส่วนตําบลบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดสรรทรัพยากร การกำหนดเป้าหมาย และการบรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิผลนั้นเกิดขึ้นได้จากการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรโดยรวม วัฒนธรรมองค์กรช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและการรักษาพนักงานโดยการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความสุข เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน และประสานพฤติกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายและคุณค่าของธุรกิจ งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการองค์การและวัฒนธรรมองค์การขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาปัจจัยการจัดการองค์การและวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานี และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานี
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน หาได้จากการใช้สูตรกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane (Yamane. 1973: 725) และการสุ่มอย่างง่าย และการให้ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation) การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย: (1) การจัดการองค์การและวัฒนธรรมองค์การขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านจากระดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการประสานงาน ด้านการบังคับบัญชาสั่งการ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ และด้านการควบคุม ตามลำดับ (2) ปัจจัยการจัดการองค์การและวัฒนธรรมองค์การ 13 ด้านที่ส่งผลต่อ ที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานี (Y) โดยภาพรวม โดยไม่คำนึงถึงนัยสำคัญทางสถิติของตัวแปร พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนายต่ำ (R2) เท่ากับ 0.177 หรือสามารถทำนายผลได้เพียงร้อยละ 17.7 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ Sig.=0.96 ซึ่งมากว่า .05 และมีความความแปรปวนของข้อมูลภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มสูง F=76.6 (3) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานี ฝ่ายบริหารควรมีการประชุมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการจัดหางบประมาณเพื่อสนับสนุนอาสาสมัครที่เข้ามาร่วมงานในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ด้านสาธารณสุข ด้านการประกอบอาชีพและด้านด้านเศรษฐกิจ
สรุปผล: จากการศึกษาพบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานีมีการบริหารจัดการและวัฒนธรรมองค์กรในระดับสูง โดยลักษณะเด่นที่สุดคือ การประสานงานและการสั่งการ อย่างไรก็ตาม ตัวแปรเหล่านี้มีความสามารถในการทำนายประสิทธิผลในการบริหารจัดการได้เพียงร้อยละ 17.7 ข้อเสนอแนะ ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณสำหรับอาสาสมัครในอุตสาหกรรมต่างๆ และการปรับปรุงการประชุมระหว่างหน่วยงานเพื่อให้ประสานงานกันได้ดีขึ้น
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2551). มาตรฐานกลางเพื่อการกำกับการดูแลองค์กร. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
เกศรา รักชาติ. (2549). องค์กรแห่งการตื่นรู้. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด.
โกวิทย์ พวงงาม. (2544). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด
จรัล สุวรรณมาลา.(2545). การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
ชนิดา จิตตรุทธะ. (2560). วัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2538). การส่งเสริมประสิทธิภาพในระบบราชการ. กรุงเทพมหานคร : รักอ่าน.
ธงชัย สันติวงษ์. (2526). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ธีระพล อรุณะกสิกร. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.
บรรจง อมรชีวิน. (2547). วัฒนธรรมข้ามชาติ. กรุงเทพฯ: ส. เอเชีย เพรส.
พิเชฐ ทรวงโพธิ์และคณะ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่าง รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรกับแรงจูงใจในการท างานของบุคลากรกรมทรัพยากรน้ำบาดาล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์. 4(2), 1-14.
รุจารินทร์ จิตต์แกว้ และกิตติพันธ์คงสวัสดิ์เกียรติ. (2555). อิทธิพลด้านวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อ การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร การเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 2(4), 102-120.
วิจารณ์ พานิช. (2550). วิถีแห่งองค์กรอัจฉริยะ. จุลสารอุตสาหกรรมสัมพันธ์. 73, 2-3.
สมยศ นาวีการ. (2541). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายเชิงธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตะวันออก.
สมยศ นาวีการ. (2543). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรุงเทพมหานคร.
สมาน อัศวภูมิ. (2553). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี. (2566). ข้อมูลพื้นฐาน. https://pathumpao.go.th/#
อภิญญา แจ่มแจ้ง. (2551). วัฒนธรรมองค์กรในองค์กรแห่งการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.,มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
Cameron, K. S., & Quinn, R. E. (2011). Diagnosing and changing organizational culture: Based on the competing values framework. John Wiley & Sons.
Cronbach, L.J. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3rd edition. New York: Harper and Row.
Daft, R. L. (2021). Organization theory and design. Cengage Learning.
Denison, D. R. (1996). What is the difference between organizational culture and organizational climate? A native's point of view on a decade of paradigm wars. Academy of Management Review, 21(3), 619-654. DOI: https://doi.org/10.5465/amr.1996.9702100310
Fayol, H.. (1930). Industrial and General Administration. New York: Mc-Grew Hill.
Gorton, R., Alston, J., & Snowden, P. (2006). School Leadership and Administration: Important Concepts, Case Studies and Simulations. Open University Press.
Jones, G. R., & George, J. M. (2021). Essentials of contemporary management. McGraw-Hill Education.
Katz, D., & Kahn, R. L. (1978). The social psychology of organizations. New York: Wiley.
Kotter, J. P. (1996). Leading change. Harvard Business Review Press.
Kotter, J.P., & Heskett, J.L. (1992) Corporate Culture and Performance. Free Press, New York.
Marcoulides, G.A., & Heck, R.H. (1993). Organizational culture and performance: Proposing and testing a model. Organization Science. 4 (2), 209‐25 DOI: https://doi.org/10.1287/orsc.4.2.209
Mayo, E. (1933). The Human Problems of an Industrial Civilization. New York: Macmillan.
Robbins, S. P., & Coulter, M. (2018). Management. Pearson.
Schein, E. H. (2010). Organizational culture and leadership. John Wiley & Sons.
Yamane, T.. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York. Harper and Row Publications.
Yukl, G. (2013). Leadership in organizations. Pearson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ