การพัฒนาหลักสูตรการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้สถานการณ์จำลอง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.279943คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร, ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, สถานการณ์จำลองบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การสร้างหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารผ่านสถานการณ์จำลองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยพัฒนาทักษะการใช้ภาษาในเชิงปฏิบัติของผู้เรียนในบริบทของโลกแห่งความเป็นจริง ส่งเสริมความมั่นใจและความคล่องแคล่ว การจำลองให้ประสบการณ์เชิงโต้ตอบที่สมจริง ซึ่งผู้เรียนสามารถฝึกฝนการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลในสถานการณ์จริงที่หลากหลาย ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้สถานการณ์จำลอง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 และ 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้สถานการณ์จำลอง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ชั้นปีที่ 2 สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท ได้แก่ (1) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ประกอบด้วย หลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตรการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้สถานการณ์จำลอง และ (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นแบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้สถานการณ์จำลอง การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย: (1) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นคือหลักสูตรการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้สถานการณ์จำลอง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ประกอบด้วย 1) ปัญหาและความจำเป็น 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) ผลการเรียนรู้ 5) โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร 6) การจัดการเรียนรู้ของหลักสูตร 7) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 8) การวัดและการประเมินผล ในภาพรวมหลักสูตรการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้สถานการณ์จำลอง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 มีความเหมาะสมระดับมาก (x ̅ = 3.90, S.D. = 0.97) และในภาพรวมคู่มือการใช้หลักสูตรมีความเหมาะสมระดับมาก (x ̅ = 4.04, S.D. = 0.83) (2) นักศึกษาที่เรียนด้วยหลักสูตรการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผล: การวิจัยแสดงให้เห็นว่าหลักสูตรการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 8 ประการ มีประสิทธิผลอย่างยิ่ง นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งยืนยันถึงความสำเร็จของหลักสูตรที่ระดับ 0.05
References
กรมวิชาการ. (2542). กระบวนการเรียนรู้และยุทธศาสตร์การเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์ กรุ๊ปแมนเนจเม้นท์.
กุศยา แสงเดช. (2545). แบบฝึกคู่มือพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: แม็ค.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2552). กลุ่มสัมพันธ์: ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. เล่ม1. กรุงเทพฯ: บูรพาศิลป์.
บัญชา อึ๋งสกุล. (2545). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ หลักการ ทักษะและการ ปฏิบัติการ. วิชาการ.วิชาการ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2541). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยเล่ม 1. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภัทรา นิคมานนท์. (2539).ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. กรุงเทพ : อักษรการพิมพ์.
สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์.
สุพิน บุญชูวงศ์. (2544). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อินทิรา บุณยทร. (2542). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Bailey, K., & Savage, L. (1994). New ways of teaching speaking. Alexadria, VA: TESOL.
Byrne, D. (1990). Teaching oral English. London: Longman Group.
Ellen, D. G., Carol, W. Y., & Frank, R. Y. (1993). Cognitive Psychology of School Learning. 2nd ed: Allyn & Bacon.
Ghazali, M. (2020). The effect of simulation-based learning on reducing foreign language anxiety in EFL classrooms. Journal of Education and Learning, 9(3), 28-38. https://doi.org/10.5539/jel.v9n3p28
Gredler, M. (1992). Designing and evaluating games. London: Kagan Page.
Hedge, T. (2008). Teaching and learning in the language classroom. New York: Oxford University Press.
Kerr, P. (1977). Optical Mineralogy. John Wiley and Sons, New York.
Kılıçkaya, F. (2019). The impact of simulation activities on the development of communicative competence in EFL learners. Language Learning and Technology, 23(1), 87-103. https://doi.org/10.1016/LLT231
Littlewood, W. (1983). A Communicative Approach to Language-Teaching Methodology. Dublin: Trinity College.
Morley, L. (2001). Producing New Workers: Quality, Equality and Employability in Higher Education. Quality in Higher Education, 7, 131-138. https://doi.org/10.1080/13538320120060024
Sanmugam, S., Ramasamy, R., & Lee, H. (2021). Collaborative learning through simulations: Enhancing English speaking skills in a digital age. International Journal of Educational Technology in Higher Education, 18(1), 1-15. https://doi.org/10.1186/s41239-021-00260-7
Sturtridge, G. (1983). Simulations. Windsor: Berk.
Ur, P. (1998). A Course in language teaching. Cambridge: Cambridge University Press.
Wang, L., & Chen, H. (2020). The role of simulation-based learning in improving English speaking proficiency: A meta-analysis. Journal of Educational Technology, 7(2), 101-112. https://doi.org/10.1080/00220671.2020.1742135
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ