การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.279583

คำสำคัญ:

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, การบริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการหนึ่งในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งเป็นมาตรการในการดูแลนักเรียนและป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษา ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 ด้านความปลอดภัย ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา เพื่อให้นักเรียนได้รับโอกาสทางการศึกษา ด้วยรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 (2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษา

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร 2 ปีการศึกษา 2565 และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยอาศัยตารางสำเร็จรูปของโคเฮ็น (Cohen, Manion and Morrison, 2011) ได้จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 54 ข้อ ที่ผ่านการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α = Coefficient) ตามวิธีของ (Cronbach) ได้คะแนนเท่ากับ .993 และอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .724 - .932 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพื้นฐาน ใช้การทดสอบ t-test และวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (One Way Analysis of Variance) และการทดสอบรายคู่ตามวิธีเชฟเฟ่ (Scheffé's post hoc comparison method)

ผลการวิจัย: 1) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษา พบว่า 2.1) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตาม วุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน 2.2) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการคัดกรองนักเรียน และด้านการส่งต่อนักเรียน ไม่แตกต่างกัน 2.3) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุปผล: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ซึ่งรับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียน ได้จัดทำแผนและคู่มือโดยละเอียดอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของครูและการพัฒนานักเรียน โดยสำนักงานฯ รับรองแนวทางการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักเรียนอย่างเป็นระบบผ่านการประสานงานของที่ปรึกษาและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

References

กรดา มลิลา (2564). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

กรรณสพร ผ่องมาส. (2561). การศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด องค์กรปกครองถิ่น ในจังหวัดตราด จันทบุรีและระยอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

ขวัญเนตร มูลทองจาด. (2564). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดอุดมรังสี. การค้นคว้าอิสระ (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จันทร์ฉาย ไทยรัตน์ (2561). การบริหารและการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่ดีของนักเรียนโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

จันทัปปภา บุตรดี (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาในอำเภอหนองสองห้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชไมพร จันทร์ลี. (2560). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครู ในศูนย์ภัทรบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

นฤมิตร ภักดี (2560). ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นัฏพันธ์ ดิศเจริญ. (2565). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. Journal of Modern Learning Development. 7 (3), 321-335.

นัฐพล หัสนี. (2565). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นูรมาน พิทักษ์สุขสันต์. (2564). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอ สายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. การค้นคว้าอิสระ (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญยิ่ง พรมจารีย์. (2560). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พรศักดิ์ ผกากรอง. (2562). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระ (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยสุราษฏร์ธานี.

รัชพล เที่ยงดี. (2563). การศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2551). คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน.(พิมพ์ครั้งที่ 4) . กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2565. กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนหลักการแนวคิด และทิศทางในการดำเนินงาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สุธิดา พงษ์สวัสดิ์ (2561). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนื่องบุรี. การค้นคว้าอิสระ (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภัสสร สุริยะ (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยสยาม.

อภิญญา สงนุ้ย. (2564). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อัจฉรา สอนโว (2560). ประสิทธิผลการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Cohen, L., Minion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7th ed.). New York: Routledge.

Epstein, J. L., Sanders, M. G., Sheldon, S. B., Simon, B. S., Salinas, K. C., Jansorn, N. R., ... & Hutchins, D. J. (2018). School, family, and community partnerships: Your handbook for action. Corwin Press.

Koller, J. R., & Bertel, J. M. (2006). Responding to today's mental health needs of children, families and schools: Revisiting the preservice training and preparation of school-based personnel. Education and Treatment of Children, 29(2), 197-217.

Reinke, W. M., Herman, K. C., & Sprick, R. (2011). Motivational interviewing for effective classroom management: The classroom check-up. Guilford Press.

Smith, T. E. C., & Polloway, E. A. (2019). Teaching students with special needs in inclusive settings. Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-09

How to Cite

ศรีสุข ม. ., & อินทุสุต ก. . (2025). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 381–400. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.279583