ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.279211คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษา;, หลักสูตรบัญชีบัณฑิต; , แนวทางการรับนักศึกษาบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์ : การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สามารถแก้ปัญหาแนวโน้มจำนวนนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 – 2566 ในหลักสูตรลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีหลัง จำนวน 70 คน, 56 คน, 48 คน และ 48 คน ตามลำดับ และสามารถพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและเพิ่มจำนวนผู้เข้าศึกษาในอนาคตได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2) เพื่อเป็นแนวทางในการรับนักศึกษาของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
ระเบียบวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาใหม่ชั้นปีที่ 1 และนักศึกษาปัจจุบันชั้นปีที่ 1-4 หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 166 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป, ปัจจัยการตัดสินใจ, ข้อเสนอแนะ และใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น การเก็บข้อมูล เป็นการชี้แจงวัตถุประสงค์ เก็บแบบสอบถามครบ 166 ชุด ประเมินผลปัจจัยการตัดสินใจเลือกเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรม Jamoviวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
นำผลวิเคราะห์ไปใช้หาแนวทางในการรับนักศึกษาต่อไป
ผลการศึกษา : วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อหาแนวทางในการรับนักศึกษา ปัจจัยสำคัญที่พบ
ด้านสิ่งสนับสนุนและสิ่งอำนวยความสะดวก คือการมีทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีฐานะยากจน ด้านภาพลักษณ์และชื่อเสียง คืออาจารย์ผู้สอนมีวุฒิการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับ ความสามารถในการพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้นักศึกษา และแนวทางในการรับนักศึกษา ควรจัดสรรทุนการศึกษาเพิ่มเติมสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อจัดหาทุนการศึกษาเพิ่มเติม จัดโครงการทุนทำงานระหว่างเรียนภายในมหาวิทยาลัย เพิ่มโอกาสการฝึกงานและสหกิจศึกษาที่มีค่าตอบแทน สนับสนุนการทำธุรกิจขนาดเล็กของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย
สรุปผล : แนวทางในการรับนักศึกษาที่นำเสนอมุ่งเน้นการแก้ปัญหาด้านการเงินและการสนับสนุนทุนการศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกเรียน โดยยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านอุปกรณ์การเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ควบคู่กันไป
References
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2567). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563-2570. Retrieved from: https://www.mhesi.go.th
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. (2566). เอกสารหลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ.2563. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.
เจษฎา มีทรัพย์. (2566). ปัจจัยในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วารสารสังคมศาสตร์, 12(2), 62-73.
ดวงฤทัย แก้วคำ และวิมลพรรณ อาภาเวท. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตดุสิต. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 1(2), 42-49.
ธนพัฒน์ อินทวี. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสถาบันศึกษาเพื่อเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 1-14.
พีรภูมิ แสงหิรัญ.(2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(1), 26-37.
ศรีสุนันท์ สุขถาวร และกิตติศักดิ์ อังคะนาวิน. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรณีศึกษานักเรียน Admission รับตรง ปีการศึกษา 2561. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(2), 199-215.
ศศิธร บูรณ์เจริญ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโทคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 4(2), 136-159.
สงัด เชียนจันทึก และคณะ (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาในระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. Journal of Modern Learning Development, 7(4), 287-306.
สุชาดา สุดจิตร. (2562). คุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอนตามความคิดเห็นของนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดภูเก็ต. วารสารร่มพฤกษ์มหาวิทยาลัยเกริก, 37(1), 146–156.
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 2843-2854.
อนิพัฒน์ วรนิธิภาคย์. (2566). ปรัชญาทางสังคมศาสตร์และการวิเคราะห์ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการของอับราฮัม ฮาโรลด์ มาสโลว์. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ, 4(3), 57-71.
อมร โททำ และกชวรา ศาลารมย์ (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(3), 1-16.
Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory. 2nd Edition, McGraw-Hill, New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ