ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศิรินธร เอี๊ยบศิริเมธี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนครราชสีมา https://orcid.org/0009-0004-5968-5574
  • สำราญ บุญเจริญ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนครราชสีมา https://orcid.org/0009-0001-0481-3813
  • ปริญญา โกวิทย์วิวัฒน์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนครราชสีมา https://orcid.org/0009-0005-4008-918X
  • วิศาล ภุชฌงค์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนครราชสีมา https://orcid.org/0009-0009-2895-5355

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.278773

คำสำคัญ:

ความต้องการศึกษาต่อ, การเรียนการสอน, หลักสูตรปริญญาเอก, สถาบันการศึกษาเอกชน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การอุดมศึกษาเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตและพัฒนากําลังคนสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมขั้นสูง เป็นแหล่งที่สร้างองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งในการพัฒนาหลักสูตรใหม่ให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษา จะเป็นต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ต้องการศึกาต่อเป็นเหลัก เพื่อให้เพื่อให้ผู้ต้องการศึกษาต่อได้รับความรู้ ประสบการณ์จากการเรียนนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง รวมทั้งคณะที่จัดหลักการศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอกสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนครราชสีมา เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนโดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นของปัจจัยที่ผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนครราชสีมา และ 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกับความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนครราชสีมา

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และการเลือกตัวอย่างสุ่มแบบง่าย  จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยแบ่งคำถามออกเป็น 3 ส่วน วิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้เพียร์สันไคสแควร์  และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง ควบคู่กับการบรรยาย และสรุปผลของการวิจัย

ผลการวิจัย: ความคิดเห็นของปัจจัยที่ผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตของสถาบันการศึกษาเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความคิดเห็นด้านความคาดหวังของผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสถานที่ตั้งของสถาบันการศึกษา ด้านช่องทางการประชาสัมพันธ์ของสถาบันเพื่อรับทราบการเปิดหลักสูตร ด้านคุณสมบัติอาจารย์ และ ด้านระยะเวลาในการเรียน ตามลำดับ และปัจจัยด้านความคาดหวังของผู้เรียน และสถานที่ตั้งของสถาบันการศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนครราชสีมา

สรุปผล: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตซึ่งควรคำนึงถึงความคาดหวังของผู้เรียนโดยเฉพาะหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นจำเป็นต้องมีเนื้อหารายวิชาที่หลากหลายและผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งสถานที่ตั้งของสถาบันการศึกษามีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร

References

เกรียงศักดิ์ แสงจันทร์. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

ชยากานต์ เรืองสุวรรณ, วัลลภา อารีรัตน์, เสาวนี สิริสุขศิลป์.(2564).ความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ.วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร,9(36), 1-10

ชูชัย เทพสาสาร. (2546). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจเลือกบริษัทรักษาความปลอดภัย กรณีศึกษาผู้ประกอบการซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนรถยนต์ในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธานินทร์ เงินถาวร และคณะ.(2566).ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอก (หลักสูตรบูรณาการ) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารวิชาการ ปขมท, 12 (2), 144-151

บุญซม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

เบญจพร วรรณูปภัมภ์ และคณะ.(2566). ได้ศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 3(2), 77-91

ปิติพงษ์ คำแก้ว.(2551).ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกศึกษาหลักสูตรคุรศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พายัพ เชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เมยานี บุญเย็น. (2548). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อขนมขบเคี้ยวของกลุ่มวัยรุ่นในเขตบางเขน.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร

วราภรณ์ ช่วยประคอง.(2562). การตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. รายงานการวิจัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมาน ไชยเมืองใจ.(2548).พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนจังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2566).สำมะโนประชากรและเคหะ. Retrieved from: https://www.nso.go.th/nsoweb/main/summano/aE

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2565).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570. Retrieved from: https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf

สุภาพร คชารัตน์. (2565). การศึกษาการศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ในสาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 16(1), 209-225

หทัยกาญจน์ สิทธิศักดิ์.(2559).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาเอก หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโลยีราชมงคลพระนคร

อุษณีย์ แจ่มใส. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Bergquist, W.H. (1981). Designing Undergraduate Education. San Francisco, Jossey-Bass Publishers.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques.3rd edition. New York: John Wiley and Sons Inc.

Knowles, M., Holton III, E., & Swanson, R. (1998). The Adult Learner: The Definitive Classic in Adult Education and Human Resource Development. San Diego, CA: Elsevier.

Smith, A. (1982). Symbol Digit Modalities Test (SDMT). Manual (Revised). Los Angeles: Western Psychological Services.

Stoner, J.A.F. (1978). Management. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-05

How to Cite

เอี๊ยบศิริเมธี ศ. ., บุญเจริญ ส. ., โกวิทย์วิวัฒน์ ป. ., & ภุชฌงค์ ว. . (2025). ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนครราชสีมา. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 105–120. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.278773