การให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278770คำสำคัญ:
การให้บริการสาธารณะ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการรักษาความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนโดยการให้บริการสาธารณะซึ่งรวมถึงการดูแลสุขภาพ การศึกษา และความปลอดภัยสาธารณะ บริการเหล่านี้ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (2) เพื่อเปรียบเทียบการให้บริการสาธารณะขององค์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 397 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) การวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) สถิติเชิงอนุมานได้แก่ การวิเคราะห์ t-test Independent (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One way ANOVA (F-test) ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 กรณีพบความแตกต่างจะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของ LSD. (Least-Significant Difference)
ผลการวิจัย: (1) การให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยรวมมีการให้บริการสาธารณะอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ มี ด้านสาธารณะสุข และด้านการบริหารทั่วไป ตามลำดับ (2) เปรียบเทียบการให้บริการสาธารณะขององค์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน โดยรวมและรายด้านมีความคิดเห็นต่อการให้บริการสาธารณะขององค์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม แตกต่างกัน ประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการสาธารณะขององค์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2549). แบบประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment : LPA) ประจำปี 25495. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
สันต์ ศรียา. (2559). ประสิทธิภาพในการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สำนักงาน ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. (2563). ประกาศ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563. Retrieved from: https://www.udomthanya.go.th/files/com_networknews/2020-04_9537c349734a008.pdf
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
เสาวลักษณ์ ดีมั่น. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. (2565). ข้อมูลจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. นครพนม: สำนักงานทะเบียนอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม.
Andrews, R., Boyne, G. A., & Walker, R. M. (2013). Managing public service performance: An international perspective. Cambridge University Press.
Baker, B. D., & Weber, M. (2017). Educational equity, adequacy, and equal opportunity in the commonwealth: An evaluation of Pennsylvania’s school finance system. American Institutes for Research.
Gwilliam, K. (2011). Cities on the move: A World Bank urban transport strategy review. World Bank Publications.
Mays, G. P., & Scutchfield, F. D. (2010). Public health services and systems research: Building the evidence base to improve public health practice. American Journal of Preventive Medicine, 39(2), 157-163.
Wilson, J. Q., & Kelling, G. L. (1982). Broken windows: The police and neighborhood safety. Atlantic Monthly, 249(3), 29-38.
Yamane, T. (1973). Statistic An Introductory Analysis. 3rd edition: New York: Harper Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ