ผลกระทบของการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สร้อยศิรินทร์ เพียงเกตุ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0002-8826-1012
  • อัจฉรพร เฉลิมชิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-5050-144X
  • นาวา มาสวนจิก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0001-8217-8475

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278416

คำสำคัญ:

การจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียว, ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันทรัพยากรมนุษย์จะเป็นต้นทุนที่สำคัญที่สุดและเป็นต้นทุนที่แท้จริง เพราะมนุษย์ที่มีความรู้ความเข้าใจและเทคโนโลยีจะเป็นฐานที่สำคัญและข้อได้เปรียบในการผลิตและเนื่องจากโลกปัจจุบันและอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างมากและรวดเร็ว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย จำนวน 320 คน และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย: 1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวโดยรวมอยู่ในระดับมาก และอยู่ในระดับมากทุกด้าน ประกอบด้วย ด้านวิสัยทัศน์และคู่มือสีเขียว ด้านการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากรสีเขียว ด้านการอบรมและการพัฒนาบุคลากรสีเขียว ด้านการประเมินผลและการให้รางวัลบุคลากรสีเขียว และด้านวัฒนธรรมองค์การสีเขียว 2) ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก และอยู่ในระดับมากทุกด้าน ประกอบด้วย ด้านคุณภาพของงาน ด้านความสำเร็จในงาน ด้านความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และด้านความพึงพอใจ 3) การจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียว ด้านวิสัยทัศน์และคู่มือสีเขียว (\beta = 0.285) ด้านการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากรสีเขียว (\beta = 0.252) ด้านการอบรมและการพัฒนาบุคลากรสีเขียว (\beta = 0.166) ด้านการประเมินผลและการให้รางวัลบุคลากรสีเขียว (\beta = 0.147) และด้านวัฒนธรรมองค์การสีเขียว (\beta = 0.099) มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย

สรุปผล: การจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย

References

กฤตภาคิน มิ่งโสภา และณกมล จันทร์สม. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 209-222.

ชัยวัฒน์ เพ็งกรูด และภัทริยา พรหมราษฎร์ (2564). คุณลักษณะองค์กรสมรรถนะสูง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 16(2), 123-133.

วัชระ เวชประสิทธิ์ (2564). รูปแบบกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1), 57-79.

ศรากุล สุโคตรพรหมมี, สุรพร อ่อนพุทธา, วิญญู ปรอยกระโทก, และวรางกูร อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2566). ผลกระทบของการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวที่มีต่อประสิทธิภาพในการผลิตมุ่งเน้นสิ่งแวดล้อมในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 54-72.

สกุลกาญจน์ แสนภูวา. (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการจัดแผนพัฒนารายบุคคลของข้าราชการศาลยุติธรรมในศาลชั้นต้น จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: ธนรัชการพิมพ์.

สุรางค์ บุญยะพงศ์ไชย (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 12(1), 64-90.

Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision making. 4thed. New York: John Wiley and Sons.

Daryani, S.M., & Amini, A. (2016). Management and Organizational Complexity. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 230, 359-366. DOI: https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2016.09.045

Jabbar, M.H., & Abid, M. (2014). GHRM: Motivating Employees towards Organizational Environmental Performance. MAGNT Research Report, 2(4), 267-278.

Jabbour, C.J.C., & de Sousa Jabbour, A.B.L. (2016). Green human resource management and green supply chain management: linking two emerging agendas. Journal of Cleaner Production, 112(3), 1824-1833. DOI: https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2015.01.052

Kim, J.Y., Kim, G.W. MinChoi, H., & Phetvaroon, K. (2019). The effect of green human resource management on hotel employees’ eco-friendly behavior and environmental performance. International Journal of Hospitality Management, 76, 83-93. DOI: https://doi.org/10.1016/j.ijhm.2018.04.007

Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610. DOI: https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Melnyk, S.A., Sroufe, R.P., & Calantone, R. (2003). Assessing the impact of environmental management systems on corporate and environmental performance. Journal of Operations Management, 21, 329-351. DOI: https://doi.org/10.1016/S0272-6963(02)00109-2

Renwick, D.W.S., Redman, T., & Maguire, S. (2013). Green Human Resource Management: A review and research agenda. International Journal of Management Reviews. 15(1), 1–14. DOI: https://doi.org/10.1111/j.1468-2370.2011.00328.x

Wehrmeyer, W. (1996). Greening People, Human Resources and Environmental Management. Greenleaf, London.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03

How to Cite

เพียงเกตุ ส. ., เฉลิมชิต อ. ., & มาสวนจิก น. (2024). ผลกระทบของการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(6), 89–100. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278416