รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีผลต่อการบริหารจัดการระบบงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278400

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้ , ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง, การมีส่วนร่วมการบริหารจัดการงบประมาณมุ่งเน้น, ผลงานตามยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ปัจจุบัน การจัดการงบประมาณของรัฐบาลท้องถิ่นเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานในแต่ละวัน การสร้างฟอรัมชุมชน การร่างแผนการพัฒนา การเข้าร่วมการประชุมสภาท้องถิ่น และการเปิดโอกาสให้บุคคลหรือองค์กรชุมชนรับหน้าที่รับผิดชอบด้านการจัดการสาธารณะโดยรวมเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการความรู้ ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง และการมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ระเบียบวิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ จำนวน 440 ราย และนำมาวิเคราะห์ตัวแบบจำลองสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์

ผลการวิจัย: พบว่า 1) การจัดการความรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารจัดการงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ และการจัดการความรู้ไม่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณ ในขณะที่การจัดการความรู้มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารจัดการงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์โดยส่งผ่านการมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณ 2) ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารจัดการงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ และภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณ นอกจากนี้ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารจัดการงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์โดยส่งผ่านการมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณ 3) การมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณมีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารจัดการงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ข้อค้นพบใหม่หรือคุณค่าของงานวิจัย

สรุปผล: งานวิจัยนี้ได้เสนอเส้นทางสู่การบริหารจัดการงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องเริ่มจากการมีการจัดการความรู้และภาวะผู้นำที่ทำให้เกิดการจัดการหรือการทำงานที่เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นเบื้องต้น ตลอดจนการสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณ เพื่อส่งผลให้องค์การมีการบริหารจัดการงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา แบบจำลองรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีผลต่อการบริหารจัดการระบบงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดีมาก (ค่าสถิติ Chi square/df=1.853, P-value=0.551, RMSEA=0.034, GFI=0.901, AGFI=0.980)

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2566). สรุปข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด. Retrieved from: https://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp

กัลยา วาณิชบัญชา. (2552). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา วาณิชบัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัดสามลดา.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2557). หลักการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2546). ความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการบริหารจัดการระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนรัชการพิมพ์.

บุษบา บุญกะนันท์. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ประดิษฐ์ ศรีประไหม. (2562). ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการงบประมาณแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคตะวันอออกเฉียงเหนือตอนกลาง. ปร.ด. (การบริหารการพัฒนา) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พุทธิมา ตระการวนิช และคณะ. (2554). ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน กรณีศึกษา นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา. 3(5), 63-81.

เพ็ญแข สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2548). การงบประมาณ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงบประมาณ. (2562). ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สิริรักษ์ นักดนตรี และยศวีร์ สายฟ้า. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. An Online Journal of Education, 13(3), 277–289. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/200667.

อัญญกฤตา หัตถีรัตน และพงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 9(2), 140-155.

Alqatawenah, A.S. (2018). Transformational leadership style and its relationship with change management. Verslas Teorija ir Praktika 19(3), 17-24.

Awad, M.A., & Ghaziri. H.M. (2004). Knowledge Management. Pearson Education

Barbuto, J. E., & Burbach, M. E. (2006). The Emotional Intelligence of Transformational Leaders: A Field Study of Elected Officials. The Journal of Social Psychology, 146, 51-64. https://doi.org/10.3200/SOCP.146.1.51-64

Basuki, F.H. (2015). Assessment of Financial Performance: Transformational Leadership and Budget Participation Effect with Mediating of Strategy Management: Study of Indonesian Hospitals. Research Journal of Finance and Accounting. 6(2), 11-14.

Beesley, L., & Cooper, C. (2008). Defining knowledge management (KM) activities: Towards consensus. Journal of Knowledge Management. 12 (3), 48-62.

Bocatto, E., & Toledo, E.P. (2020). Knowledge acquisition and meaning-making in the participatory budgeting of local governments. The Electronic Journal of Knowledge Management. 18(2), 149-160.

Cohen, J., & Uphoff, N. (1977). Rural Development Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. Cornel University, Ithaka.

Diamantopoulos, A., & Siguaw, J.A. (2000). Introducing LISREL. London: Sage

Fachrizal, M., Lalu, S., & Animah, A. (2016). B8 The effect of participatory budgeting on the performance of government officials (An empirical study in West Lombok District). The Indonesian Accounting Review. 6, 181-194.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th Edition, Pearson, New York.

Hemali, O.A., & Tahajuddin, S.B. (2018). The influence of budgetary participation on knowledge sharing among budget prepares within Libyan public industrial companies. European Journal of Business and Social Sciences. 6(11), 91-106.

Kim, Y.-C., & Kang, J. (2010). Communication, Neighbourhood Belonging, and Household Hurricane Preparedness. Disasters, 34, 470-488. http://dx.doi.org/10.1111/j.1467-7717.2009.01138.x.

Mischen, P.A., & Sinclair, T.A.P. (2017). Small is Beautiful: Knowledge Management and Budget Reform in a Rural County. The Innovation Journal: The Public Sector Innovation Journal, 22(1), article 2

Nutt: C., & Wilson, D.C. (2010). Handbook of Decision Making. New York: John Wiley and Sons.

Pratolo, S., Mukti, A. H., & Sofyani, H. (2021). Intervening Role of Performance-Based Budgeting in the Relationship between Transformational Leadership, Organizational Commitment, and University Performance. Journal Dinamika Akuntansi dan Bisnis. 8(1), 77-90.

Putri, D.K. (2021). The Influence of Transformational Leadership Style, Human Resources Competency Towards Implementation Performance Based Budgeting and Organization Culture: Study on Government Working Unit of Situbondo Regency, ast Java. Journal of Contemporary Information Technology, Management, and Accounting. 2(1), 28-34.

Robbins, S.P. (2003). Organizational behavior. 10th edition. San Diego: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-05

How to Cite

จันทาธอน ศ. ., รยะสวัสดิ์ ช. ., & สุขหอม อ. . (2024). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีผลต่อการบริหารจัดการระบบงบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(6), 281–296. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278400