ผลของการใช้วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อนุกรมเลขคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • พีรยา คุ้มคง นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0006-8253-3661
  • ทรงชัย อักษรคิด การสอนคณิตศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0005-2520-8638
  • ต้องตา สมใจเพ็ง การสอนคณิตศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0005-4630-2009

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278069

คำสำคัญ:

ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์; , วิธีการแบบเปิด; , อนุกรมเลขคณิต

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นทักษะที่สำคัญของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งนักเรียนควรได้รับการพัฒนาฝึกฝนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อยู่เสมอ การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดเข้ามาร่วมในห้องเรียนคณิตศาสตร์ ทำให้นักเรียนได้ค้นพบกับสถานการณ์หรือปัญหาที่ทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และทำความเข้าใจปัญหาเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบจากการแก้ปัญหาที่มีความหลากหลาย คำตอบที่ได้อาจจะไม่ใช่คำตอบเดียว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อนุกรมเลขคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวิเศษไชยชาญ “ตันติวิทยาภูมิ” จังหวัดอ่างทอง จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด เรื่อง อนุกรมเลขคณิต และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อนุกรมเลขคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การคำนวณค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ฐานนิยม จากผลการทำแบบทดสอบ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ร่องรอยการแก้ปัญหาของนักเรียนจากการบันทึกข้อมูลในใบกิจกรรมและแบบทดสอบโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาตามกรอบการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

ผลการวิจัย: พบว่า (1) นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 44.44 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีมาก (2) นักเรียนส่วนใหญ่สามารถเลือกใช้สูตรได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนดตัวแปรเพื่อนำไปสู่การหาคำตอบ สามารถให้เหตุผลที่มีความสมเหตุสมผลสู่การหาคำตอบ และสามารถดำเนินการหาคำตอบได้อย่างถูกต้อง

สรุปผล: นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก เนื่องจากวิธีการแบบเปิดเน้นให้นักเรียนได้คิดค้นความรู้และลงมือปฏิบัติจนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้ค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามศักยภาพเพื่อตอบสนองความสามารถที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล โดยอาศัยการช่วยเหลือของครูผู้สอนที่คอยให้คำปรึกษา แนะนำ ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีการบริหารจัดการตนเอง

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฐกุล นินนานนท์ และปริณ ทนันชัยบุตร. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด. Journal of MCU Ubon Review. 8 (1), 19 – 22

ทรงชัย อักษรคิด. (2555). การแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2549). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาด้วยยุทธวิธีปัญหาปลายเปิด. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.

รีชา เนาว์เย็นผล. (2544). กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การแก้ปัญหาปลายเปิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิด การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Takahashi, A. (2021). Teaching Mathematics Through Problem-Solving: A Pedagogical Approach from Japan. Routledge. DOI:10.4324/9781003015475

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17

How to Cite

คุ้มคง พ. ., อักษรคิด ท. ., & สมใจเพ็ง ต. . (2024). ผลของการใช้วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อนุกรมเลขคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 . Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(5), 437–452. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278069