แรงจูงใจในการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน วัดปากบ่อกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278058

คำสำคัญ:

การบรรพชาสามเณร; , แรงจูงใจ; , แบบวัด; , ภาคฤดูร้อน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: สังคมไทยส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับว่าเป็นชาวพุทธ และชาวพุทธทุกวัยได้รับอิทธิพลจากแนวคิดและหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามายาวนาน วัตถุประสงค์ของการอุปสมบทสามเณรภาคฤดูร้อน คือ เพื่อปั้นเยาวชนให้เป็นคนดี มีพฤติกรรมอันพึงปรารถนา สอดคล้องกับคุณค่าทางวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนา ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบวัดแรงจูงใจในการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน  วัดปากบ่อกรุงเทพมหานคร และ (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน  วัดปากบ่อกรุงเทพมหานคร ของนักเรียนที่มีประสบการณ์การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนแตกต่างกัน

ระเบียบวิจัย: การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 28 ข้อ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนครั้งที่ 51 ประจำปี 2567 ที่วัดปากบ่อกรุงเทพมหานคร  จำนวนตัวอย่างวิจัยขั้นต่ำที่คำนวณได้จากโปรแกรม G* power 3.1.9.7 มีขนาดตัวอย่างขั้นต่ำเท่ากับ 118 รูป  ซึ่งมีค่าขนาดอิทธิพล 0.50 และ Power (1-β err prob 0.85 ) และสุ่มโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยจำแนกตามประสบการณ์การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน และผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจริงโดยเพิ่มขนาดตัวอย่างเท่ากับ 137 รูป  เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอ้างอิง คือ การทดสอบที เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน

ผลการวิจัย: (    1) แบบวัดแรงจูงใจในการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน  วัดปากบ่อกรุงเทพมหานคร  มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์และข้อคำถาม อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00  ค่าความเที่ยงโดยการหาค่าความสอดคล้องภายใน พบว่า มีค่า 0.86  ค่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรวม พบว่า มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.71  (2) นักเรียนที่มีประสบการณ์การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=-2.50, sig= .01)โดยกลุ่มที่เคยมีประสบการณ์การบรรพชา มีค่าเฉลี่ย 3.92 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เคยมีประสบการณ์การบรรพชา มีค่าเฉลี่ย 3.70 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51

References

เบญจวรรณ เลิศหตัถกิจ. (2556). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะนักวิจัยสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระครูวรกิจจาทร (ถวัลย์ นาคพิมพ์). (2567). ผู้รับผิดชอบโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนประจำปี [สัมภาษณ์].

พระครูวิธานอุดมกิจ (ฉัตรชัย จงเจตดี). (2567). แนวทางส่งเสริมการบรรพชาอุปสมบทของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 204-209.

พระณัฏฐกฤศ อุดมผล, กรรณิการ์ ขาวเงิน, สุนทราภรณ์ เตชะพะโลกุล, นาฎนภางค์ โพธิ์ไพจิตร์, และชมพูนุช ช้างเจริญ. (2562). แรงจูงใจในการบรรพชาอุปสมบทหมู่เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในงานพระบรมศพ. วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์: ชุดคำวัด. วัดราชโอรสาราม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุวิทย์ ธมฺมิกมุนิ (ธีรเนตร), และธวัช หอมทวนลม. (2561). วิธีการสร้างแรงจูงใจในการบรรพชาเป็นสามเณรในสังคมไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 14(2), 56-62.

พระวิสันต์ ปานเพ็ชร. (2566). แรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของอุบาสกอุบาสิกาในวัดศรีสุทธาวาส จังหวัด เลย. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(7), 35-44.

พระโสภณคุณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2522). พระพุทธศาสนาปริทรรศน์. โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

มูลนิธิพุทธโฆษณ์. (2564, 15 มิถุนายน). สามเณร ผู้นำพุทธศาสนาในอนาคต. Retrieved from: https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=18942

โมลี สุทฺธิโมลิโพธิ. (2563). ลักษณะของบุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์. วารสารพุทธจิตวิทยา, 5(6), 13-17. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/246154/167745

วชิรญาณวโรรส สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (2531). วินัยมุข เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 22: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2564, 16 มิถุนายน). สามเณร. Retreived from: https://legacy.nrct.go.th

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ishii, Y. (1986). Sangha, State, and Society: Thai Buddhism in History. University of Hawaii Press.

Kabilsingh, C. (1998). Buddhist Monastic Education: Its Origin and Development in Thailand. Wisdom Publications.

Keyes, C. F. (1983). Thailand: Buddhist Kingdom as Modern Nation-State. Westview Press.

McClelland, D.C. & Burnham, D.H. (2008). Power is the great motivator. Harvard Business School Publishing.

Ryan, R.M. & Deci, E.L. (2000). Intrinsic and Extrinsic Motivations: Classic Definitions and New Directions. Contemporary Educational Psychology, 25, 54–67

Song, Y., & Yan, L. (2020). “Who is Buddha? I am Buddha.”—The motivations and experiences of Chinese young adults attending a Zen meditation camp in Taiwan. In Journal of Convention & Event Tourism (Vol. 21, No. 4, pp. 263-282). Routledge.

Swearer, D. K. (2010). The Buddhist World of Southeast Asia. State University of New York Press.

Tiyavanich, K. (1997). Forest Recollections: Wandering Monks in Twentieth-Century Thailand. University of Hawaii Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-15

How to Cite

ช่วยมาก ณ. . ., อังสุโชติ ป. . ., พานิชวัฒนะ พ. ., & ทิพยกุลไพโรจน์ ด. (2024). แรงจูงใจในการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน วัดปากบ่อกรุงเทพมหานคร. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(5), 257–270. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278058