การพัฒนาชุดฝึกอบรมครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277944คำสำคัญ:
ชุดฝึกอบรมครู;, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ; , ครูปฐมวัย;, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ทักษะสมองเป็นสิ่งสำคัญที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย เพราะประสบการณ์ในช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญยิ่งที่จะสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้แก่ทักษะสมอง ดังนั้นครูปฐมวัยจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมทักษะสมองให้แก่เด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กปฐมวัยเป็นผู้สามารถ คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็นอยู่กับคนอื่นเป็นและมีความสุขเป็น ต่อไปในอนาคต การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) )พัฒนาชุดฝึกอบรมครูปฐมวัย เรื่องการส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ : 80/80 2) เปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจของครูปฐมวัย เรื่องการส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของ เด็กปฐมวัย 3) ศึกษาความสามารถของครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์ส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาลในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดฝึกอบรมครูปฐมวัยเรื่องการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย (2) แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจของครูปฐมวัย เรื่องการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย (3) แบบวัดความสามารถในการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรม E1/E2
ผลการวิจัย: 1) ชุดฝึกอบรมครูปฐมวัยเรื่องการส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพ 81.56/ 82.78 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) หลังการเข้าร่วมฝึกอบรมค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ความเข้าใจของ ครูปฐมวัยเรื่องการส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จสูงขึ้นก่อนการเข้าร่วมฝึกอบรม 3) ครูปฐมวัยมีความสามารถในการจัดประสบการณ์ส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัยโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 อยู่ระดับมาก
สรุปผล: ชุดฝึกอบรมครูปฐมวัยเรื่องการส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ครูปฐมวัยมีความสามารถในการจัดประสบการณ์ส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของ เด็กปฐมวัยอยู่ระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ทิพย์อารี กิจจาพิพัฒน์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา ในโรงเรียนมูลนิธิภูมิตะวันวิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต:มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ธิดาภรณ์ ละม้ายศรี. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ธีรภรณ์ ภักดี. (2564). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูปฐมวัยในการออกแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 18(83), 25-35.
ปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2562). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มติชน.
ปรมะ แก้วพวง. (2563). การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูมัธยมศึกษา โรงเรียนในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(4), 76-89.
ปราณี นามวิชัย. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ กรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ. วารสารวิชาการ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 1266-1283.
วรรณสิริ ธุระแพง. (2564). การพัฒนากิจกรรมการฝึกอบรมโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบสังคมออนไลน์สำหรับธุรกิจเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านคลังสินค้าและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถิตย์ ปริปุณณากร. (2561). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสู่การเสริมสร้างนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิคพะเยา. วิทยาลัยเทคนิคพะเยา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สมคิด บางโม. (2559). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สำนักงานคณะกรรมการป้องการและปราบปรามยาเสพติด. (2558). EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและป้องกันยาเสพติดคู่มือสำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: รักลูกบุ๊คส์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). แนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function). กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นชูรี่ จำกัด.
สุภาวดี หาญเมธีเมธี. (2561). พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยการอ่าน. กรุงเทพฯ: รักลูกบุ๊คส์.
อรรถกร ชัยมูล. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. ดุษฎีนิพนธ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
อรรัตน์ เชาว์กุลจรัสศิริ. (2565). EF Executive Function สำคัญต่อพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยอย่างไร. Retrieved 18 February 2023, from: https://shorturl.asia/UDNhk
ฮัสลินด้า หมาดเหย. (2566). ชุดฝึกอบรมพัฒนาทักษะของครูในการสร้างชุดกิจกรรมการจัดการชั้นเรียนเพื่อปรับลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนในโรงเรียนอนุบาลโอบอ้อม จังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Dessler, G. (1999). Essentials of Human Resource Management. New Jersey: Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ