ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.277894คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, องค์การแห่งการเรียนรู้บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ภาวะผู้นำทางวิชาการมีความสำคัญยิ่งกับการบริหารงานวิชาการ เพื่อให้การดำเนินการบริหารโรงเรียนมุ่งไปสู่คุณภาพและได้มาตรฐาน ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนจึงจะมีประสิทธิภาพ นำพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และ 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนใน โรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก จำนวน694 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 254 คน สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.854 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย: 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงเท่ากับ .925 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล ได้แก่ ด้านการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านการบริหารหลักสูตรและการสอน ด้านการพัฒนาวิชาชีพ และด้านการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล ได้ร้อยละ 93.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สรุปผล: ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก และมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงเท่ากับ .925 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ภาวะผู้นำ ด้านการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านการบริหารหลักสูตรและการสอน ด้านการพัฒนาวิชาชีพ และด้านการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล ได้ร้อยละ 93.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กฤติยา จันทรเสนา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จริยาภรณ์ พรหมมิ. (2559). ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที¬ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จุรีย์ สร้อยเพชร. (2554). การพัฒนารูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยอดนิยม. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา
ไชย ภาวะบุตร (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการ Academic Leadership ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ณัฐชุดา มะคุ้มใจ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษากับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
บุญศรีพรหมมาพันธุ์, สรชัย พิศาลบุตร, และ ส่งศักดิ์ ทิตาราม. (2554). การใช้สถิติเชิงบรรยายในเอกสาร การสอนชุดวิชาสถิติวิจัยและประเมินผลการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิสณุ ฟองศรี. (2554). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2551). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ฤทธิรงค์ เศษวงศ์. (2556). อิทธิพลของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ลำพึง ศรีมีชัย. (2559). รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ด้านการบกพร่องทางสติปัญญา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
วรรณา เฟื่องฟู. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็น องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วิจารณ์ พานิช. (2550). วิถีแห่งองค์กรอัจฉริยะ. จุลสารอุตสาหกรรมสัมพันธ์, 73, 2 - 3.
สมถวิล ศิลปคนธรรพ์. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมุทร ชำนาญ. (2556). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎีและปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ระยอง: พี.เอส. การพิมพ์.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12. กรุงเทพฯ: สานักนายกรัฐมนตรี
สายฝน พิทักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถาบันอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา อุตสาหกรรม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. (2558). รายงานผลการประเมินคุณภาพการพัฒนาผู้เรียน ปีการศึกษา 2558. ปราจีนบุรี: กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. (2562). รายงานผลการประเมินคุณภาพการพัฒนาผู้เรียน ปีการศึกษา 2562. ปราจีนบุรี: กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). นโยบายปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานการวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (Instructional Leadership of The Basic Education School Principals). วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 7(2), 1-8.
Blasé, J., & Blasé, J. (2004). Handbook of Instructional Leadership: How Successful Principals Promote Teaching and Learning. Thousand: California.
Davis, D.R., Ellett, C.D., & Annunziata, J. (2002). Teacher evaluation, leadership and learning organizations. Journal of Personnel Evaluation in Education, 16(4), 287-301.
Davis, G.A., & Thomas, M.A. (1989). Effective Schools and Effective Teachers. Boston: Allyn and Bacon.
Dessler, G. (2014). Human Resource Management (2nd ed.). London: Pearson.
Gephart, M.A., Marsick, V.J., Van Buren, M.E., Spiro, M.S. (1996), Learning organizations come alive. Training and Development, 50(12), 34-45.
Hallinger, P., & Murphy, J. (1985). Assessing the Instructional Leadership Behavior of Principals. Elementary School Journal, 86, 217-248. https://doi.org/10.1086/461445
Hallinger: & Murphy, J. (1985). Assessing the instructional leadership behavior of principals. Elementary School Journal, 86(2), 217-248.
Kaiser, S. M. (2000). Mapping the Learning Organization: Exploring a Model of Organizational Learning. Ph.D. Dissertation, Louisiana State University, U.S.A.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970) Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Krug, Samuel E. (1992). Instructional leadership: A constructivist perspective. Educational Administration Quarterly, 18(3), 430-443.
Marquardt, M.J. (1996). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. McGraw-Hill Companies, London.
Maryland State Board of Education (2005). MARYLAND STATE BOARD OF EDUCATION v. BRADFORD (2005). Retrieved from: https://caselaw.findlaw.com/court/md-court-of-appeals/1089081.html
McEwan, E.K. (1998). Seven step to Effective Instructional Leadership. Thousand Oaks : Corwin Press.
Pedler, M., Burgoyne, J., & Boydell, T. (1991). The learning company: a strategy for sustainable development. New York: McGraw-Hill.
Senge, P. M. (1990). The fifth discipline :The art and practice of the learning organization. London : Century Press.
Sergiovanni, T, J. (2001). The Principal ship A Reflective Practice Perspective. 4th Ed. Boston: Allyn & Bacon.
Seyfarth, J.T. (1999). The Principal : New Leadership for New Challenges. NJ : Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ