การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครูตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป

ผู้แต่ง

  • ธนัชพร ขัติยนนท์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-9154-8914
  • ทิพาพร สุจารี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0003-0411-5174
  • ณัฏฐชัย จันทชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0003-4413-1806
  • ปวริศ สารมะโน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0005-4893-5897

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277871

คำสำคัญ:

หลักสูตรฝึกอบรม; , การใช้ภาษาอังกฤษ; , กรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครู ตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป วิธีการดำเนินวิจัย มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการฝึกอบรม ระยะที่ 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 3) นำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ และ ระยะที่ 4) ประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครู ตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3-4 จำนวน 92 คน  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม คือ อาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษ จำนวน 9 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3-4 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้หลักสูตรและประเมินหลักสูตร เป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 30 คน และผู้เชี่ยวชาญ 7 คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ หลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบได้แก่ ค่า ที (t-test dependent) และ One Sample test

ผลการวิจัย: (1) สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษ ตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป โดยรวมมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความต้องการในการพัฒนาความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาครู โดยรวมมีความต้องการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด  (2) หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 2) หลักการของหลักสูตร 3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 4) เนื้อสาระ 5) กิจกรรมการฝึกอบรม 6) สื่อประกอบการฝึกอบรม และ 7) การวัดและประเมินผล ส่วนผลของการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการนำหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นไปใช้ พบว่า นักศึกษาที่เข้ารับการฝึกอบรมมีคะแนนทดสอบหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักศึกษาครูที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถสอบผ่านข้อสอบ (RMU_UET) ของสำนักวิเทศน์สัมพันธ์และการจัดการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ร้อยละ 73 และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมฝึกอบรม โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (4)  ผลการประเมินหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

สรุปผล: จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครู ตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรปที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตรสามารถนำหลักสูตรไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ขันแก้ว มาพรม. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยบูรณาการอาเซียนศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ณดา บิลดาวูด. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะภาษาอังกฤษตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรปของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(1), 1-15. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/96225

ธำรง บัวศรี. (2532). ทฤษฎีหลักสูตรการออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาน์ส.

ประชาชาติธุรกิจ. (2560). การศึกษา: EF ดัชนีภาษาอังกฤษ ไทยควรเพิ่มทักษะการสื่อสาร. ประชาติธุรกิจออนไลน์. 8 ธันวาคม 2560. https://www.prachachat.net/education/news-84621

รุ่งทิวา จันทน์วัฒนวงษ์. (2557). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร : Curriculum Development. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ลักษณ์พร เข้มขัน และ จิติมา วรรณศรี. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 23(4), 298-309.

วารุณี อัศวโภคิน. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน : ภาคปฏิบัติ.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

สงัด อุทรานันท์. (2532). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ปีการศึกษา 2560. Retieved from: http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2560.pdf

สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2532). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมิตร คุณานุกร. (2533). หลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศึกษิตสยาม.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ministry of Education (2014). Annual Report. Ministry of Education.

Oliva, P.F. (1992). Developing the Curriculum. Boston: Brown and Company.

Read, J. (2019). The influence of the Common European Framework of Reference (CEFR) in the Asia-Pacific Region. LEARN Journal: Language Education and Acquisition Research Network, 12, 12-18.

Saylor, J.G., & Alexander, M.W. (1974). Planning Curriculum for School. 3rd edition. New York: Holt Rinehart and Winston.

Stufflebeam, D.L. (1967). The CIPP model for program evaluation. In G. Madaus, M. Scriven, & D. Stufflebeam (Eds.), Evaluation models: Viewpoints on educational and human services evaluation (pp. 117-141). Kluwer Academic Publishers

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace, and World.

Tyler, R.W. (1949). Basic Principle of Curriculum and Instruction. Chicago; Thesunversity of Chicago.

Yu, L., Chen, M., Chiu, C., Hsu, C., & Yuan, Y. (2022). Examining English ability-grouping practices by aligning CEFR levels with university-level general English courses in Taiwan. Sustainability, 14(8), 4629.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-15

How to Cite

ขัติยนนท์ ธ. ., สุจารี ท. ., จันทชุม ณ. ., & สารมะโน ป. . (2024). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครูตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(5), 271–292. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277871