ผลการจัดกิจกรรมนิทานประกอบท่าโยคะเพื่อส่งเสริมทักษะความจำเพื่อการใช้งานของเด็กปฐมวัย
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277795คำสำคัญ:
กิจกรรมนิทานประกอบท่าโยคะ; , ทักษะความจำเพื่อการใช้งาน; , เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ความจำเพื่อการใช้งานเป็นการทำงานของสมองที่มีบทบาทสำคัญต่อความสามารถในการเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหา ทักษะความจำเพื่อการใช้งานจะพัฒนาเมื่อเด็กเริ่มเติบโตขึ้น มีหลากหลายกลยุทธ์ในการส่งเสริมทักษะความจำเพื่อการใช้งานของเด็ก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมนิทานประกอบท่าโยคะเพื่อส่งเสริมทักษะความจำเพื่อการใช้งานของเด็กปฐมวัย 2) เปรียบเทียบทักษะความจำเพื่อการใช้งานของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการจัดกิจกรรมนิทานประกอบท่าโยคะเพื่อส่งเสริมทักษะความจำเพื่อการใช้งานของเด็กปฐมวัย
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมนิทานประกอบท่าโยคะเพื่อส่งเสริมทักษะความจำเพื่อการใช้งานของเด็กปฐมวัย และแบบประเมินทักษะความจำเพื่อการใช้งานของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ t-test (dependent sample)
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่าก่อนการทดลองเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่มีทักษะความจำเพื่อการใช้งานอยู่ในระดับน้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมาคือระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 26.67 ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 20.00 และระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 3.33 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่มีทักษะความจำเพื่อการใช้งานอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 40.00 รองลงมาคือระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 30.00 ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 26.67 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 3.33 คะแนนทักษะความจำเพื่อการใช้งานของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรมนิทานประกอบท่าโยคะมีค่าเฉลี่ย 4.63 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.04 และหลังการจัดกิจกรรมนิทานประกอบท่าโยคะมีค่าเฉลี่ย 8.13 ค่าเบี่ยงเบนมารตฐาน 1.76 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนทักษะความจำเพื่อการใช้ของเด็กปฐมวัย พบว่าคะแนนทักษะความจำเพื่อการใช้งานของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมนิทานประกอบท่าโยคะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผล: เด็กปฐมวัยมีทักษะความจำเพื่อการใช้งานสูงขึ้นหลังการจัดกิจกรรมนิทานประกอบท่าโยคะเพื่อส่งเสริมทักษะความจำเพื่อการใช้งานของเด็กปฐมวัย
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จริยาภรณ์ วิริยะรัตนพร. (2564). กิจกรรมโยคะเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการของทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 15(1), 213-224.
จิระพร ชะโน. (2562). การศึกษาพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมขอนแก่น, 42(3), 111-118.
จุฑาธิป เกิดช้าง. (2561). ผลของกิจกรรมโยคะที่มีต่อพฤติกรรมวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). ทักษะการคิดเชิงบริหาร (Executive Functions- EF) กับความพร้อมทางการเรียนในเด็กปฐมวัย การสัมมนาเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น” 21 มิถุนายน 2560 กรุงเทพฯ : เซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการ ประเทศไทย.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2561). รู้จักทักษะสมอง EF Executive Function Skills. คู่มือพัฒนาทักษะ สมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. บริษัทมติชน.
นัตโตะซัง และศักดิ์ชัย ศรีวัฒนาปิติกุล. (2554). คุณหนู YOGA. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วงกลม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น
ปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2561). การส่งเสริม Executive Function (EF) ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ. [เอกสารถอดความการส่งเสริม EF ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สําเร็จ]. Retrieved on June 27, 2023, from www.scbfoundation.com/stocks/75/file/1537246944rvu1x75pdf/
พิมพ์พันธุ์ ชุมภูชัย. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการวาดและพับที่มีต่อความเข้าใจในเรื่องรูปเรขาคณิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดสันกลางเหนือจังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจนิ์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพ : พิมพ์ดีการพิมพ์.
วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2561). การทดสอบที (t-test) โดยโปรแกรม Excel. 14 สิงหาคม 2561 Retrieved on August 13, 2023, from https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=1048
วรสิทธิ์ ศิริพรณิชย์ . (2565). สมองของเด็กและความจำเป็นในการพัฒนาทักษะสมอง EF. Retrieved on June 7, 2023, from https://shorturl.asia/8tPsb
วีรยา คำเรืองฤทธิ์. (2564). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการคิดเชิงบริหารสาหรับเด็กปฐมวัยที่มีอาการสมาธิสั้นและซนอยู่ไม่นิ่งโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ . Retrieved on June 27, 2023, from http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1511/1/gs601150007.pdf
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). โมเดลการทำงานของสมองแบบคู่หน่วยความจำ. Retrieved on June 22, 2023, from https://physics.ipst.ac.th/?p=306,
สุภาวดี หาญเมธี, ธิดา พิทักษ์สินสุข, และภาวนา อร่ามฤทธิ์ (บรรณาธิการ). (2562). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Function สำหรับครูปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ : บริษัทมติชน.
เอกชัย พรรณเชษฐ์. (2558). ประทีปแห่งโยคะ: คู่มือปฏิบัติด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
Baddeley, A.D. (2012). Working memory: theories, models, and controversies. Rev Psychol. 6(3): 1-29. Retrieved on August 17, 2023, from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21961947/
Baddeley, A.D., Hitch, G.J., & Allen, R.J. (2009). Working memory and binding in sentence recall. Journal of Memory and Language, 61(3), 438-456. Retrieved on June 14, 2023, from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0749596X09000576
Bastille, J.V. (2004). A yoga-based exercise program for people with chronic post-stroke hemi paresis. Physical Therapy, 84(1), 33–48.
Bendotti, M. (2022). Arhanta yoga. Retrieved on September 23, 2023, from https://www.arhantayoga.org/blog/yoga-poses-for-kids/
Dorer, M. (2021). Storytelling and executive functioning. Retrieved on June 27, 2023, from: https://www.montessori.org/storytelling-and-executive-functioning.
Hargraves, V. (2022). Games and activities for building executive function in 3-5-year-olds. Retrieved on August 17, 2023, from https://theeducationhub.org.nz/games-and-activities-for-building-executive-function-in-3-5-year-olds/
Nelwan, M., Bos, F., Vissers, C. & Kroesbergen, K. (2021).The relation between working memory, number sense, and mathematics throughout primary education in children with and without mathematical difficulties. National Library of Medicine, 28(2), 143-170. https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/09297049.2021.1959905
Roman, A.S., Pisoni, D.B., & Kronenberger, W.G. (2014). Assessment of working memory capacity in preschool children using the missing scan task. Infant and child development. 23(6), 575–587. Retrieved on June 17, 2023, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4310560/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ