การสังเคราะห์งานวิจัยด้านนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา พลเยี่ยม ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (วิจัยและประเมินผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0002-8391-5021
  • อนุสรณ์ จันทร์ประทักษ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (วิจัยและประเมินผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0001-7774-5698

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277352

คำสำคัญ:

การสังเคราะห์งานวิจัย; , ทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ; , นวัตกรรม

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การสังเคราะห์งานวิจัยด้านนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมทั้งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และสื่อการสอนที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้สังเคราะห์งานวิจัยเชิงทดลองซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ จึงจะทำให้ทราบถึงคุณลักษณะงานวิจัยที่ส่งผลให้ค่าขนาดอิทธิพลแตกต่างกันต่อไป การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะงานวิจัยที่มีต่อค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ระเบียบวิธีการวิจัย: งานวิจัยที่สังเคราะห์เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2565 จำนวน 30 เรื่อง โดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 119 ค่า ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการพิมพ์และผู้วิจัย ด้านเนื้อหาสาระงานวิจัย และด้านวิธีวิทยาการวิจัย

ผลการวิจัย: (1) ด้านคุณลักษณะงานวิจัยพบว่า 1)ด้านการพิมพ์และผู้วิจัย งานวิจัยส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2561 ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม สาขาที่ผลิตมากที่สุดคือ สาขาหลักสูตรและการสอน มีจำนวนหน้าทั้งหมด 100–150 หน้า และมีจำนวนหน้าไม่รวมภาคผนวก 50–100 หน้า (2)ด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัย พบว่า งานวิจัยมีการตั้งวัตถุประสงค์เพื่อการเปรียบเทียบมากที่สุด แนวคิด/ทฤษฎีที่ใช้มากที่สุดคือ แนวคิด/ทฤษฎีการอ่านออกเสียง ใช้ 2 แนวคิด/ทฤษฎี  รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ (3)ด้านวิธีวิทยาการวิจัย พบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่มีการตั้งสมมติฐานแบบมีทิศทาง มีการตั้งสมมติฐาน 2 ข้อ มีการกำหนดตัวแปรตาม 1 ตัวแปร กำหนดตัวแปรต้น 1 ตัวแปร ส่วนใหญ่ใช้กลุ่มตัวอย่างในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาด 11–30 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบแผนการทดลองแบบ The one group pretest–posttest design เครื่องมือในการวิจัยส่วนใหญ่ใช้แบบทดสอบ และใช้เครื่องมือในการวิจัยจำนวน 2 ชิ้น  หาค่าความเชื่อมั่นของ Kuder–Richardson
ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 11–20 ชั่วโมง ใช้สถิติ t–test dependent และผลการประเมินคุณภาพการวิจัยส่วนใหญ่มีคะแนนคุณภาพงานวิจัยอยู่ระดับคุณภาพดี (2) ด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัย พบว่า ตัวแปรที่สามารถอธิบายความแตกต่างของค่าขนาดอิทธิพล มีทั้งหมด 7 ตัวแปร คือ 1) วัตถุประสงค์การวิจัย
2) แนวคิด/ทฤษฎี 3) จำนวนแนวคิด/ทฤษฎี 4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5) จำนวนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 6) สื่อการสอน และ 7) จำนวนสื่อการสอน ด้านวิธีวิทยาการวิจัย พบว่า ตัวแปรที่สามารถอธิบายความแตกต่างของค่าขนาดอิทธิพลได้ มีทั้งหมด 9 ตัวแปร คือ 1) ประเภทสมมติฐาน 2) จำนวนสมมติฐาน 3) ระดับชั้นของกลุ่มตัวอย่าง 4) ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 5) กระบวนการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 6) การออกแบบการวิจัยเชิงทดลอง 7) จำนวนเครื่องมือ 8) ระยะเวลาการทดลอง และ 9) ประเภทสถิติที่ใช้

สรุปผล: การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคโฟนิกส์ ผู้เรียนเกิดการพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงได้อย่างเต็มความสามารถ ส่วนตัวแปรวัสดุและอุปกรณ์การสอนที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนสูงคือการใช้สื่อประสม หรือการใช้สื่อที่มีความทันสมัย ดึงดูความสนใจอีกทั้งยังเหมาะสมกับวัยของนักเรียน จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กิติชัย แสนสุวรรณ. (2551). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ของนิสิต ในหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระหว่างปี พ.ศ.2538 – 2547. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. (การบริหารการศึกษา): มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คัมภีรพจน์ สายเพ็ชร. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษที่เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการใช้นวัตกรรมกับการสอนปกติโดยวิธีวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษ): มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ณฤดี ศุภฤกษ์ชัยศร (2559). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการอ่านภาษาไทย นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1-3 ที่เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2547-2557. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

ดารณี ม่วงโต. (2559). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องโดยการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษ): มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(2), 1 - 11.

ปราณี พิพัฒน์สนิทกุล (2556). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การวิเคราะห์อภิมาน. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย): มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง 2552-2561. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ(พ.ศ. 2563 - 2565). Retrieved from: https://www.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/02/แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ-พ.ศ.-2563-2565-rev.pdf

Glass, G.V., McGaw, B., & Smith, M.L. (1981). Meta-analysis in social research. Beverly Hills: Sage Publications.

Frankfort. (2011). 6th Grade E-Learning Packet Days 11-20. Retrieved from: https://4.files.edl.io/199b/04/01/20/144222-19c68f21-2ca5-4f1a-9119-827d80755b48.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31

How to Cite

พลเยี่ยม อ. ., & จันทร์ประทักษ์ อ. . (2024). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(4), 921–938. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277352