การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Present Simple Tense โดยใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นฐาน (Task-Based Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277210คำสำคัญ:
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; , การจัดการเรียนรู้; , ภาระงานเป็นฐานบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: Present Simple Tense เป็นเนื้อหาพื้นฐานของการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ หากนักเรียน ไม่เข้าใจการเรียนพื้นฐานภาษาอังกฤษครูผู้สอนจะต้องเสริมสร้างให้นักเรียนมีรากฐานที่แน่นอนจากความเข้าใจในด้านไวยากรณ์ที่ถูกต้องเพื่อให้สามารถพัฒนาทักษะทางภาษาอย่างสมบูรณ์และนักเรียนยังสามารถใช้ Present Simple Tens ในการต่อยอดเพื่อศึกษาใน Tense อื่น ๆ ต่อไป การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเป็นฐานเรื่อง Present Simple Tense สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง Present Simple Tense โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลท่าช้าง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแผน การสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเป็นฐาน จำนวน 9 แผน ใช้เวลาแผนละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเป็นฐานเป็นแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ ชนิด 4 ตัวเลือก สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย: 1) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้พบว่า ได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเป็นฐานเรื่อง Present Simple Tense มีจำนวนทั้งสิ้น 9 แผน และมีจำนวนภาระงานประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 ภาระงาน 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเรื่อง Present Simple Tense พบว่า นักเรียนที่ผ่านการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (x̄ = 24.04 , S.D.= 1.20) สูงกว่าก่อนเรียน (x̄ = 16.30 , S.D.= 3.26)
สรุปผล: จากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นฐาน (Task-Based Learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับภาระงานเป็นหลักโดยใช้กิจกรรมเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนรู้ข้อมูลเนื้อหาผ่านกิจกรรม และเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนําระหว่างการปฏิบัติงานซึ่งจะมีส่วนช่วยให้นักเรียนเกิดประสิทธิภาพในการเรียนและส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่งขึ้น
References
ชำนาญ กฤตพงศ์ มูลมี. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาจีนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-Based Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 40(2), 73-79.
มธุรส ข่มจิตร์, และวิภารัตน์ แสงจันทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเป็นฐานรายวิชางานบ้านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(1), 135-146.
สยามรัฐ จิตแจ้ง และอาบีเกล มีลาด เอสเซี่ยน. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเขมาภิรตารามโดยใช้บัตรคำ. วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา, 5(2), 57-65.
สิรินาถ ธารา. (2558) การพัฒนากิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(2), 1361-1376.
Branden, N. (2005). Fighting social inequity through enhancing the quality of language education in Task-based language teaching. Paper presented at the Opening lecture at TBLT 2005 International, New York.
Doughty, C., & Pica, T. (1986). Information Gap Tasks: Do They Facilitate Second Language Acquisition? TESOL Quarterly, 20(2), 305-325
Ellis, R. (2003). Task-based language Learning and Teaching. Oxford: Oxford University Press.
Post, R., & Rathet, I. (1996). On their own terms: Using student native culture as content in the EFL classroom. English Teaching, 34(4), 12-17.
Promyat, B., & Kositchaivat, S. (2023). The Effect of the Task-Based Learning to Improve English Speaking Skills of Seventh Graders. Journal of Philosophical Vision, 28(2), 162-172.
Schmidt, R. (1993). Awareness and Second Language Acquisition. Annual Review of Applied Linguistics, 13(3), 206-226.
Willis, J. (1996). A framework for task-based learning. Harlow, U.K.: Longman Addison- Wesley.
Willis, J. (2007). Doing Task-based Teaching. Oxford: Oxford University Press.
Willis, J., & Willis, D. (2012). Doing Task-Based Teaching. Oxford: Oxford University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ