การส่งเสริมการใช้หลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277050

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการใช้หลักสูตร; , หลักสูตรสถานศึกษา

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการส่งเสริมการใช้หลักสูตรของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้หลักสูตรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 โดยแบ่งตามตำแหน่ง ขนาดของสถานศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการส่งเสริมการใช้หลักสูตรของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยบุคลากรจากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 จำนวน 317 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 รวมถึงแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบเอฟ

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า (1) การส่งเสริมการใช้หลักสูตรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การส่งเสริมการใช้หลักสูตรในทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน (2) การเปรียบเทียบการส่งเสริมการใช้หลักสูตรของสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ขนาดของสถานศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (3) แนวทางในการส่งเสริมการใช้หลักสูตรในสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาควรกำหนดแนวทางให้บุคลากรตรวจสอบความสอดคล้องของหลักสูตร มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร จัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร รวมถึงอบรมการพัฒนาเครื่องมือวัดผลและประเมินผล พร้อมทั้งตรวจสอบประสิทธิผลของคุณภาพหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

สรุปผล: ภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 การประเมินพบว่า สถาบันการศึกษามีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามหลักสูตรอย่างน่ายกย่อง แสดงถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในทุกมิติของการใช้หลักสูตร นอกจากนี้ การวิเคราะห์ยังเน้นถึงความสอดคล้องในการส่งเสริมการใช้หลักสูตรในบริบทต่างๆ ของสถานศึกษา โดยให้ความสำคัญกับนโยบายที่สอดคล้องกันและกรอบการทำงานที่สนับสนุน เพื่อรับประกันประสิทธิผลและการรักษาคุณภาพของการดำเนินงาน

References

จักรพรรดิ์ ชื่นภิรมย์. (2565). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, วิทยาลัยนครราชสีมา. นครราชสีมา.

ชนาพร เมฆดี. (2565). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(4), 160 – 173.

ทรายทอง ใฝ่ขันติ. (2566). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในอำเภอบ้านธิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1. วารสาร มมร วิชาการล้านนา, 12(1), 48 – 58.

นิตยา สุริน. (2565). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล : กรณีศึกษาสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล สำนักงานศาลยุติธรรม. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวรียาสาส์น.

พัชรินทร์ ศิริสุข. (2563). การประเมินผลโครงการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม สังกัดกรุงเทพมหานคร คุรุสภาวิทยาจารย์. วารสารเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู, 1(3), 109 – 119.

มงคล หมู่มาก. (2560). การเสริมสร้างสมรรถภาพการพัฒนาหลักสูตรและออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐาน สำหรับบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2(4), 28 – 44.

ยุทธชัย ราชดา. (2566). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้การมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 7(1), 651 – 665.

ศิวะลักษณ์ มหาชัย. (2565). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(2), 168 – 185.

สงกรานต์ เรืองประทีป. (2559). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

อวัศยา แสงทอง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์). กรุงเทพฯ: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Beauchamp. G.A. (1975). Curriculum Theory. 3rd ed. Wilmette Illinois: The Kagg Press.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610. DOI: https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-22

How to Cite

นิลพัฒน์ ร. ., & ไวยขุนทด ส. . (2024). การส่งเสริมการใช้หลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(5), 1127–1142. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277050