การสร้างสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง นิราศภูเขาทอง

ผู้แต่ง

  • ศรีสุภัค เสมอวงษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://orcid.org/0009-0007-5293-5333
  • พัชรินทร์ ส่วยสิน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://orcid.org/0009-0008-6339-4330

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276977

คำสำคัญ:

การสร้างสื่อ; , โมชันกราฟิก;, นิราศภูเขาทอง

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: โมชันกราฟิกเป็นการนำเอาเทคโนโลยี เสียงภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง ข้อความมารวมกัน ปรับแต่งด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์มาอย่างดี เพื่อตอบโจทย์ในจุดประสงค์ที่ต้องการสื่อสาร สามารถชักจูงนักเรียนมีความสนใจในตัวสื่อได้ดีกว่าสื่ออื่น ๆ ดังนั้นหากต้องการให้นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในเกี่ยวกับบทเรียนได้ดีจึงจำเป็นต้องสร้างสื่อโมชันกราฟิกเพื่อเผยแพร่ซึ่งจะทำให้เข้าใจได้ง่ายไม่เกิดความสับสนกับเนื้อหานอกจากนี้ยังช่วยให้สื่อมีความเข้าใจง่ายขึ้นเนื่องจากเป็นสื่อที่มีเทคนิคการนำเสนอที่น่าสนใจต่อนักเรียน ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง นิราศภูเขาทอง (2) เพื่อประเมินคุณภาพสื่อสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง นิราศภูเขาทอง และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจความพึงพอใจที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง นิราศภูเขาทอง

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเชนต์แอนโทนี จำนวน 30 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา: (1) การสร้างสื่อโมชันกราฟิก โดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือและสื่อที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสื่อโมชันกราฟิก จากการศึกษาพบว่าสื่อโมชันกราฟิก ต้องทำให้ภาพเคลื่อนไหวดูแล้วเข้าใจง่ายในเวลารวดเร็วและชัดเจน สามารถสื่อให้ผู้ชมเข้าใจความหมายของข้อมูลทั้งหมดได้ และสามารถทำให้ผู้ชมได้รับข้อมูลจำนวนมากในเวลาอันสั้นได้ (2) ผลการประเมินคุณภาพการประเมินคุณภาพสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง นิราศภูเขาทองโดยภาพรวม มีผลประเมินอยู่ในระดับมาก (3) ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง นิราศภูเขาทอง โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผล: ผลการศึกษาพบว่าสื่อกราฟิกเคลื่อนไหวควรเน้นที่ความเร็วและความชัดเจนในการทำความเข้าใจ เพื่อถ่ายทอดข้อมูลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนี้ สื่อโมชั่นกราฟิกของนิราศภูเขาทองยังได้รับคะแนนสูงอย่างต่อเนื่องในด้านการประเมินและความพึงพอใจ ซึ่งยืนยันทั้งความสามารถและความพึงพอใจของผู้ชม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กวิสรา วรภัทรขจรกุล. (2565). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะการ คิดเชิงคำนวณ วิชาวิทยาศาสตร์(เทคโนโลยี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโพธารามที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา: มหาวิทยาลัยศิลปากร

กิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน และจรัญ รามศิริ. (2564). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง 10 วิธีป้องกันโควิด-19 ด้วยฐานวิถีชีวิตใหม่. หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

คมิก สกุลปิยานนท์ และ จิติมา เสือทอง. (2562).การออกสื่อภาพเคลื่อนไหว 2 มิติเรื่องนิราศภูเขาทอง เพื่อการท่องอาขยาน. การประชุมวิชาการสำหรับนักศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2, วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2562 ณ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://eit.ssru.ac.th/useruploads/files/20190620/a40d040a5016ffc9cab9f10155ff3097b3da7153.pdf.

เจนจิรา เทียนทอง และ. (2561). 3D Motion Graphic ล่องเรือเจ้าพระยา. รายงานโครงงานพิเศษหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร

ดลพร ใบบัว ไพฑูรย์ ศรีฟ้า และสูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. (2565). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกตามแนวคิดไมโครเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. 5(15), 127-140.

ทักษิณา สุขพันธ์ และทรงศรี สรณสถาพร. (2560). การศึกษาแนวทางการออกแบบโมชันกราฟิกที่ ส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรม ราชูปถัมภ์. 12(1), 261-268.

ธวัชชัย สหพงษ์, และศิริลักษณ์ จันทพาหะ. (2561). การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง คอนแทคเลนส์. Journal of Project in Computer Science and Information Technology. 4 (1), 9-15.

ราตรี เพรียวพานิช. (2552). เพชรน้ำเอกในวรรณคดีไทย. วารสารรามคำแหง. 26(1), 42 -60.

ราตรี เอี่ยมประดิษฐ์ ; กาญจนา ส่งสวัสดิ์ และ กนกพร ยิ้มนิล .(2565). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอ่างทอง. คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี.

วาริน ถาวรวัฒนเจริญ. (2560). การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard. Retrieved on 1 August 2021, from: https://ictboonto.blogspot.com/2017/07/storyboard.html

ศยามน อินสะอาด. (2564). การออกแบบไมโครเลิร์นนิงยุคดิจิทัล. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา,16 (20), 16-31

สมเกียรติ ตั้งนโม. (2536). ทฤษฎีสี: A complete guide for Artists by Ralph Fabri. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุชารัตน์ จันทาพูนธยาน์ และณัฐพงษ์ บุญมี. (2564). สื่อโมชันกราฟิกเสริมความรู้ เรื่อง การป้องกันโรค อาร์เอสวี. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 7(2), 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-08

How to Cite

เสมอวงษ์ ศ. ., & ส่วยสิน พ. . (2024). การสร้างสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง นิราศภูเขาทอง. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(3), 1049–1070. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276977