การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาครู วิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พิฐชญาณ์ ระวิพันธ์ นักศึกษา สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, https://orcid.org/0009-0000-6107-2890
  • ทิพาพร สุจารี อาจารยคณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0003-0411-5174
  • ณัฏฐชัย จันทชุม Faculty of Education, Rajabhat Maha Sarakham University, Thailand https://orcid.org/0000-0003-4413-1806
  • Pawaris Samano อาจารยคณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0005-4893-5897

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276895

คำสำคัญ:

หลักสูตรฝึกอบรม;, กิจกรรมเสริมหลักสูตร

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูต้องมีความเข้าใจในการสอนภาษาและวัฒนธรรมไปพร้อมๆกัน เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของภาษานำสู่ความเข้าใจอันดีดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อมเยาวชนสู่สังคมโลกสมัยใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นแนวทางแก้ปัญหาด้วยกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่มีความสำคัญและจำเป็นมากในปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 2. พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 3. นำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ และ 4. ประเมินหลักสูตรฝึกอบรม

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการฝึกอบรม ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร ระยะที่ 3 การนำหลักสูตรไปใช้และ ระยะที่ 4 การประเมินหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะที่ 1 ได้แก่ นักศึกษาครูจำนวน 108 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม คือผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ผู้สอนจำนวน 11 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในระยะที่ 2 เป็นผู้ให้ข้อมูลในการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน ระยะที่ 3 เป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน และระยะที่ 4 คือผู้เข้ารับการฝึกอบรม และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมของหลักสูตร แบบประเมินกิจกรรมและแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ

ผลการวิจัย: (1) สภาพปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนักศึกษาครูมีปัญหาร้อยละ 83 และมีความต้องการฝึกอบรมร้อยละ 91 และจากการสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์มีความคิดเห็นสอดคล้องกันคือ นักศึกษาครูควรได้รับการพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษทั้งด้านวิชาการและด้านภาษาและวัฒนธรรม รวมทั้งการวัดและการประเมินผล (2) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม พบว่าหลักสูตรฝึกอบรมมีองค์ประกอบทั้งหมด 7 องค์ประกอบคือ (2.1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (2.2) หลักการของหลักสูตร (2.3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (2.4) เนื้อหาของหลักสูตร (2.5) กิจกรรมการฝึกอบรม (2.6) สื่อและอุปกรณ์ (2.7) การวัดและการประเมินผล ส่วนผลของการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความสอดคล้องโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 3.5 ขึ้นไป จึงถือว่าหลักสูตรฝึกอบรมมีคุณภาพ สามารถนำไปพัฒนาต่อได้ (3) การนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ พบว่า คะแนนการจัดกิจกรรมระหว่างและการทดสอบหลังการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม สูงกว่าเกณฑ์ 80 ร้อยละ 100 และความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม อยู่ในระดับระดับมาก (4) การประเมินหลักสูตรฝึกอบรม ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้หลักสูตร จำนวน 37 คน อยู่ในระดับมากที่สุด พบว่าโดยรวมประสิทธิภาพของหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผล: การศึกษาชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ชัดเจนในการเพิ่มความสามารถของครูนักเรียนในการวางแผนกิจกรรมนอกหลักสูตร โดยมีอัตราปัญหา 83% และความต้องการการฝึกอบรม 91% ทักษะของผู้เข้าร่วมได้รับการปรับปรุงอย่างมีประสิทธิผลด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมที่ออกแบบมา ซึ่งถือว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกันมาก โดยเห็นได้จากระดับความพึงพอใจและคะแนนที่เกินเกณฑ์ 80%

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.

ธำรง บัวศรี. (2532). ทฤษฎีหลกัสูตรการออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

นรเศรษฐ์ พิสิฐพันพร. (2557). โลกทัศน์ของชาวเขมร. ใน เสาวภา พรสิริพงษ์, เรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้าน:กัมพูชาในมิติทางสังคมวัฒนธรรม (หน้า 15-55). นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล.

นิตยา เปลื้องนุช (2554). การบริหารหลักสูตร. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิภา นิธยายน. (2529). การปรับตัวและบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: สารศึกษาการพิมพ์.

ปัทมาภรณ์ ธรรมทัต, (2542). กระบวนการให้สารนิเทศเพื่อการปรับตัวทางวัฒนธรรมของบุคลากรต่างชาติในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัฒนา สุขประเสริฐ. (2543). กลยุทธ์ในการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิชัย วงษ์ใหญ่, 2532(2532). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน : ภาคปฏิบัติ.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

สงัด อุทรานันท์. (2532). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.

สุมิตร คุณานุกร. (2533). หลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศึกษิตสยาม.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวนีย์ จิตต์หมวด, (2554). การถ่ายทอดวัฒนธรรมอิสลามของครอบครัวชาวไทยมุสลิม ในกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏธนบุรี.

Banks, J.A. and McGee, C.A. (1989). Multicultural Education. Allyn & Bacon, Boston.

Brettel & Sargent, (2009). Gender in Cross-Cultural Perspective 5th Edition. Pearson College Div.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Maruca, P. M. (2002). Impact of parent involvement on Hispanic, limited English proficient students and their parents. Doctoral dissertation, Flagstaff: Northern Arizona University.

Oliva: F. (1992). Developing the Curriculum. Boston: Brown and Company.

Ramirez-Verdugo, D., & Belmonte, I. A. (2007). Using digital stories to improve listening comprehension with Spanish young learners of English. Language Learning & Technology, 11 (1), 87-101.

Saylor, J.G., & Alexander, M.W. (1974). Planning Curriculum for School. 3rd ed. New York: Holt Rinehart and Winston.

Soler, E.A., & Jordà, M.P. (2007). Intercultural Language Use and Language Learning. Springer. DOI:10.1007/978-1-4020-5639-0

Stufflebeam, D.L. (1971). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability. Journal of Research and Development in Education, 5, 19-25.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17

How to Cite

ระวิพันธ์ พ., สุจารี ท., จันทชุม ณ., & Samano, P. (2024). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาครู วิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม . Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(5), 417–436. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276895