ภาวะผู้นำเชิงวิชาการในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการเรียนร่วม ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศศิกาญจน์ อ่าววิจิตรกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://orcid.org/0009-0004-1813-5808
  • ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://orcid.org/0009-0003-5231-7122

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276825

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำวิชาการในศตวรรษที่ 21; , การบริหารจัดการเรียนร่วม; , ครู

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ภาวะผู้นำวิชาการในศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะ พฤติกรรม แนวทางปฏิบัติที่สำคัญต่อการพัฒนาการบริหารการจัดการเรียนในสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เมื่อผู้บริหารมีภาวะผู้นำวิชาการในศตวรรษที่ 21 จะส่งผลให้สามารถบริหารจัดการเรียนร่วมได้อย่างดี เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์กร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงวิชาการในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการเรียนร่วม ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระห่างภาวะผู้นำเชิงวิชาการในศตวรรษที่ 21 และการบริหารจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงวิชาการในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ระเบียบวิธีการวิจัย: ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูการศึกษาพิเศษและครูที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 158 โรงเรียน ผู้วิจัยเลือกใช้ตารางสำเร็จรูปของ (Krejcie & Morgan, 1970) จำนวน 186 คน ค่าเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .837 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณแบบวิธีการนำตัวแปรเข้าทั้งหมด

ผลการวิจัย: (1) ระดับภาวะผู้นำเชิงวิชาการในศตวรรษที่ 21 และระดับการบริหารจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ภาวะผู้นำเชิงวิชาการในศตวรรษที่ 21ของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติที่ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r)= .856* แสดงว่าตัวแปรทั้งสองตัวมีความสัมพันธ์ในระดับสูง (3) โดยภาวะผู้นำเชิงวิชาการในศตวรรษที่ 21 พยากรณ์การบริหารจัดการเรียนร่วม ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 73.5

สรุปผล : ผลวิจัยสรุปว่า ภาวะผู้นำเชิงวิชาการในศตวรรษที่ 21 และระดับการบริหารจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านพัฒนาบุคลากรและด้านนักเรียน ภาวะผู้นำเชิงวิชาการในศตวรรษที่ 21ของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติที่ .01 ซึ่งชี้ว่าภาวะผู้นำวิชาการและการบริหารจัดการเรียนร่วมมีความสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านเครื่องมือมีความสัมพันธ์มากที่สุด และภาวะผู้นำวิชาการในศตวรรษที่ 21 สามารถพยากรณ์การบริหารจัดการเรียนร่วมได้ โดยด้านการสร้างเครือข่าย
การเรียนรู้มีอำนาจพยากรณ์สูงสุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

จิรัฐิติกาล สุทธานุช, เกียรติ วิเศษเสนา, สงวนพงศ์ ชวนชม, สมบูรณ์ ตันยะ. (2564). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นําทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์์, 8(2), 46-55. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/249057/172335

จิราภา ทิศวงศ์. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการ ที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการเรียนรวมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี. วารสารศึกกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(3),113-123.

ดาโอะ บาฮี และ จรุณี เก้าเอี้ยน. (2566). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต2. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2(1), 15-28.

ธนพัฒน์ ลิ้มไพบูลย์, นิพนธ์ วรรณเวช และ สาโรจน์ เผ่าวงศากุล. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7 (1), 36-48.

ธีระภาพ เพชรมาลากุล. (2561). รูปแบบการบริหารงานวิชาการและการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะและทักษะในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 11(1), 126-145.

ปาริชาต ขัติกันทา และ ศิริพงษ์ เศาภายน. (2566). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามทัศนะของครูในเขต ดินแดง-ห้วยขวาง สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 421-432.

ปิยาภรณ์ หอมจันทร์, & อุไร สุทธิแย้ม. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(2), 119-131.

พระครูปริยัติกิจวรวัฒน์ (สุนฺทโร). (2565). ภาวะผู้นำเชิงวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนก สามัญศึกษาสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. วารสาร มจร เลย ปริทัศน์, 3(1), 59-69.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ. (2551). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 125 ตอนที่ 28ก).

ภัทรนันท์ อิงภู. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

รวิภา ศรีวัตร, สุชาติ บางวิเศษ และ สุขุม พรมเมืองคุณ. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 7(2), 39-51.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่21. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(2), 1-16

ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 6 (1), 7-11.

ศุภชัย ประเสริฐนู. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับการบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมในจังหวัดเครือข่ายศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 1-7. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55490/46087

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2554). การเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร.

สิริฉัตร รัตนสุวรรณ์ และ ตรัยภูมินทร์ ตรีตรีศวร. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ, 13 : 2219-2234.

สุรศักดิ์ เรือนงาม. (2555). การศึกษาการบริหารการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อัษฎาวุธ บุญเกิด, ทรงเดช สอนใจ และ วสันต์ชัย กากแก้ว. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. Journal of MCU Ubon Review, 7(3), 756-766.

DoDEA 21. (2014). Instructional Leadership: Self-Assessment and Reflection Continuum. Retrieved fromhttps://www.wallacefoundation.org/knowledge-center/Documents/The-School-Principal-as-Leader-Guiding-Schools-to-Better-Teaching-and-Learning-2nd-Ed.pdf

Grossman. (2011). Create a Set of Development Standards for Executives. Retrieved from: http://conference.edu.ksu.ac.th/file/20160809_2488101126.pdf

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Seyfarth, J.T. (1999). The Principal: New leadership for a new challenge. Prentice–Hall.

The Wallace Foundation. (2012). The school principal as leader: Guiding schools to better Teaching And Learning. Retrieved Oct 22, 2023, from: https://wallacefoundation.org/sites/default/files/2023-09/the-school-principal-as-leader-guiding-schools-to-better-teaching-and-learning-2nd-ed.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-24

How to Cite

อ่าววิจิตรกุล ศ. ., & เพชรมาลัยกุล ธ. . (2024). ภาวะผู้นำเชิงวิชาการในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการเรียนร่วม ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(4), 409–426. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276825