การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276358คำสำคัญ:
ข้อบกพร่องทางการเรียน; , แบบทดสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสี่ระดับบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: แบบทดสอบวินิจฉัยเป็นแบบทดสอบเพื่อหาข้อบกพร่อง จุดอ่อน จุดด้อย และหาสาเหตุของความบกพร่องทางการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล ในด้านต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ส่งเสริมการเรียนของนักเรียนได้ถูกต้องและตรงจุดดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) วินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (แผนการเรียนวิทย์ - คณิต) ประจำปีการศึกษา 2566 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 236 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ แบบสี่ระดับ ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัย ด้วยค่าความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยง ความยาก และอำนาจจำแนก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัย: (1) ความตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบวินิจฉัยที่สร้างขึ้น มีค่า IOC อยู่ในช่วง 0.67 – 1.00 โดยระดับคำตอบ (A-tier) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.822 ค่าความยากอยู่ในช่วง 0.40 - 0.85 และอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.25 – 0.70 ส่วนระดับเหตุผล (R-tier) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.834 ค่าความยากอยู่ในช่วง 0.42 - 0.88 และอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.20 – 0.65 (2) ผลการวินิจฉัยข้อบกพร่อง พบว่า นักเรียนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เรื่อง ความหมายเกี่ยวกับกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตันมากที่สุด รองลงมา คือ การคำนวณเกี่ยวกับแรงคู่กิริยาและการชั่งน้ำหนักภายในลิฟต์ ความหมายน้ำหนักของวัตถุ และการคำนวณเกี่ยวกับเรื่องแรงตึงเชือกคล้องผ่านรอก ตามลำดับ ส่วนเรื่องที่นักเรียนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดคือ ความหมายของแรง
สรุปผล: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการทดสอบวินิจฉัยวัดความเข้าใจของนักเรียนในระดับความรู้ต่างๆ ได้ดีเพียงใด โดยมีความแม่นยำและความแปรปรวนในระดับสูงในระดับความยาก การค้นพบความเข้าใจผิดที่แพร่หลายยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการแทรกแซงเพื่อจัดการกับความเข้าใจผิดในด้านใดด้านหนึ่ง และเพิ่มความเข้าใจทั่วไปในการสอนวิชาฟิสิกส์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุงปี 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ธนบดี อินหาดกรวด. (2560). การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับสี่ระดับ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระวัฒน์ การะเกตุ. (2561). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยหลายตัวเลือกสี่ลำดับขั้น เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน วิชา ชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นงนุช ศุภวรรณ์. (2547). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยเรื่องฟิสิกส์อะตอมสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประกาย เชื้อนิจ. (2560). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความบกพร่องในการเรียนวิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ปัทมาพร ณ น่าน. (2561). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสามชั้นวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พลรพี ทุมมาพันธ์ Dong, D., & Li, M. (2563). การประเมินการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เพื่อชี้นำการจัดการเรียนรู้: การประยุกต์ใช้โมเดลวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(1), 146-163. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/12834
พีระพล จอมใจเหล็ก. (2564). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยสี่ลำดับขั้นเพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภัสสุภา สุขสวัสดิ์. (2563). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสี่ชั้น วิชา ฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงานสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่4. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลำแพน วงศ์คำจันทร์. (2557). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วรุตม์ ผิวงาม. (2563). การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกโดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาจีไดนาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชราภรณ์ ชาญธัญญกรรม. (2565). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบเลือกตอบสี่ระดับวิชาเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริเดช สุชีวะ. (2538). การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยสำหรับตรวจสอบมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565). ระบบประกาศผลสอบ o-net. Retrieved on April 25, 2022 from: https://www.niets.or.th/th/
สังวรณ์ งัดกระโทก และอนุสรณ์ เกิดศรี. (2559). การประเมินวินิจฉัยการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยโมเดล G-DINA. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(4), 37-53.
สุชานาฎ คำพินันท์. (2559). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุดารัตน์ มนต์นิมิต. (2545). การใช้เทคนิคการคิดออกเสียงเป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์เพื่อจัดสอนซ่อมเสริม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภากร คันธรส. (2556). พฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการเล่นเกมออนไลน์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Kumar, J.S. (2017). The Psychology of Colour Influences Consumers’ Buying Behaviour A Diagnostic Study. Ushus-Journal of Business Management. 16(4), 1-13.
Kurniawati, D.M., & Ermawati, F.U. (2020). Analysis of Students’ Conception Using Four-Tier Diagnostic Test for Dynamic Fluid Concepts. International Journal of Physics, 1491(012012), 1-7. doi:10.1088/1742-6596/1491/1/012012
Wagh, S.K. (1987). Construction of a battery of diagnostic tests in fractional numbers of mathematics for the students studying in standard x in Marathi medium schools in Sangli city. Department of Education, Shivaji University.
Yuberti., Suryani, Y., & Indah Kurniawati, I. (2020). Four-tier diagnostic test with the certainty of response index to identify misconceptions in physics. International Indonesian Journal of Science and Mathematics Education, 3(2), 245-253.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ