ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษากลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276353คำสำคัญ:
ปัจจัยการบริหาร; , ประสิทธิผลของสถานศึกษาบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การบริหารจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องเป็นผู้บริหารยุคใหม่ เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการบริหาร และปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมืออาชีพ การบริหารสถานศึกษาในยุคปัจจุบัน มีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะช่วยให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารของสถานศึกษา กลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลขอสถานศึกษา กลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง และ (4) เพื่อศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 140 คน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิและสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุคูณ แบบ Stepwise
ผลการวิจัย: (1) ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับสูงมาก (rxy = .951) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลของสถานศึกษาได้แก่ ลักษณะของสภาพแวดล้อม ลักษณะบุคลากร และ ลักษณะขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวได้ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 90.70 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = .118 + .417X1 +.288X4 +263X3
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z= .405X1 +.306X4 + .273X3
สรุปผล: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญระหว่างลักษณะการบริหารงานของสถาบันการศึกษาและประสิทธิผลโดยรวม ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างมากและรับรู้ในแง่ดี นอกจากนี้ คุณลักษณะขององค์กร มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ยังปรากฏเป็นตัวทำนายที่สำคัญ ซึ่งรวมกันแล้วคิดเป็น 90.70% ของประสิทธิผลของสถาบันการศึกษา
References
กรุณา ภู่มะลิ. (2556). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ เพื่อการพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จริยาภรณ์ พรหมมิ. (2559). ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณ.
ธีรพงศ์ อุปทุม. (2562). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้ตามทักษะแห่งศตวรรษที่21 ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
พิศสวาท ศรีเสน. (2551). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในฝันหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันของโรงเรียนในฝันจังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ยุทธนา วาโยหะ.(2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต1. สารนิพนธ์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ยุวดี ประทุม. (2559). ปัจจัยบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา.
รังสรรค์ อ้วนจิตร. (2554). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก.ประถม ศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษดีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
วนิดา คงมั่น. (2561) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาชลบุรี เขต 2. งานวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วิมาลย์ ลีทอง. (2563). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (2555). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา. ระยอง สำนักงาน ฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
อคีราภ์รัตน์ วรรณรัตน์ และ เสาวนี ตรีพุทธรัตน์ (2556). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. EDGKKUJ, 8 (4), 210–219.
อเนก วิลาสังข์. (2558). ปัจจัยทางการบริหารที่สงผลต่อการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
เอกพล อยู่ภักดี และวัลลภา อารีรัตน์. (2560). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 5(2), 36–45. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/99613.
Hong, J., Youyan, N., Heddy, B., Monobe, G., Ruan, J., You, S., et al. (2016). Revising and validating achievement emotions questionnaire - teachers (AEQ-T). Int. J. Educ. Psychol. 5, 80–108. doi: 10.17583/ijep.2016.1395
Hoy, W.K. & Miskel, C.G. (2008). Educational Administration: Theory research and practice. 7th edition. New York: McGraw-Hill.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 – 610
Mott, Paul E. (1972). The Characteristics of Effective Organization. New York: Harper and Row.
Steers, R.M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly, 22, 46-56.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ